บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้สาระนาฏศิลป์ โดยใช้กระบวนการการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนภูมิวิทยา กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนภูมิวิทยา จำนวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นด้วยกระบวนการการศึกษาชั้นเรียนโดยใช้เนื้อหาสาระนาฏศิลป์ 3 หน่วยการเรียนรู้ รวมทั้งหมด 16 แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบสังเกตนักเรียนรายบุคคล และโดยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ คือ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการจัดการเรียนรู้สาระนาฏศิลป์จากการวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนพบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับ ดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.18
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระนาฏศิลป์ของนักเรียน มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 75.87
การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้สาระนาฏศิลป์ โดยใช้กระบวนการการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3 รูปแบบ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบJigsaw การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และการจัดการเรียนรู้แบบ Open Approach ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนภูมิวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2560 ซึ่งในการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้เนื้อหาในรายวิชานาฏศิลป์ ของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มี 3 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 นาฏยศัพท์และภาษาท่า มีแผนการการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 4 แผน 4 ชั่วโมง หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 รำวงมาตรฐาน มีแผนการการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 8 แผน 8 ชั่วโมง หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ลาวต่อนก มีแผนการการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 4 แผน 4 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 16 แผนการจัดการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ในครั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกใช้กระบวนการการศึกษาชั้นเรียน ตามแนวคิดของ Inprasitha (2011) เป็นนวัตกรรมที่ใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนของครู โดยเริ่มจากการขั้นการวางแผนบทเรียนร่วมกัน ไปสู่ขั้นการสังเกตชั้นเรียนร่วมกัน และสู่ขั้นการสะท้อนผลชั้นเรียนร่วมกัน
การเก็บรวมรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้สังเกตชั้นเรียนเพื่อศึกษาธรรมชาติของนักเรียน พฤติกรรมในขณะการทำกิจกรรมการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ปลายเปิด การแสดงความความเห็นรวมทั้งบุคลิกภาพของนักเรียน การทำงานและกิจกรรมร่วมกับเพื่อนในกลุ่ม การยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น และศึกษาวิธีการคิด แนวคิดการแสดงออกผ่านกิจกรรม เพื่อให้เข้าใจบริบทด้านตัวผู้เรียน และช่วงการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการโดยนำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการศึกษาชั้นเรียน ที่มีการปรับปรุงแก้ไขมาตามลำดับ มาดำเนินการสอนกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนวิชานาฏศิลป์ โรงเรียน ภูมิวิทยา สังกัดสักนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาชัยภูมิเขต 2 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โดยผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการสอนด้วยตนเอง ใช้เวลาในการสอน 16 ชั่วโมง ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 16 แผน โดยในระหว่างที่มีการจัดการเรียนการสอน จะมีครูในโรงเรียนเข้าร่วมสังเกต และหลังจากที่การเรียนการสอนเสร็จสิ้นลงในแต่ละครั้งก็จะมีสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ เริ่มจากครูผู้สอน และต่อด้วยครูผู้สังเกต จะเป็นการพูดถึงปัญหาและอุปสรรค จุดบกพร่อง แนวคิดของนักเรียน จากนั้นจะร่วมกันอภิปรายถึงสาเหตุของปัญหาของจุดบกพร่องของชั้นเรียนที่ผ่านมา ทำให้ครูผู้สอนได้เห็นถึงจุดบกพร่องของตนเอง ได้เห็นถึงจุดอ่อนและจุดแข่งของการจัดการเรียนการสอนที่มาจากแผนการเรียนรู้ที่ผ่านมา จากนั้นทีมจะช่วยกันรวบรวมปัญหาและอุปสรรค จุดอ่อน จุดแข็งที่ได้ แล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้ที่จะใช้สอนในครั้งต่อไป
การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้จากแบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งมีผลการศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สรุปได้ดังนี้
ผลการจัดการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 นาฏยศัพท์และภาษาท่า นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับ ดี ( = 4.33 และ S.D. = 0.28) โดยพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนประกอบด้วย ความสนใจ อยู่ในระดับ ดี ( = 4.19 และ S.D. = 0.56) การร่วมแสดงความคิดเห็น อยู่ในระดับ ดี ( = 4.28 และ S.D. = 0.68) การให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม อยู่ในระดับ ดี ( = 4.42 และ S.D. = 0.50) ความถูกต้อง อยู่ในระดับ ดีมาก ( = 4.81 และ S.D. = 0.52) และการเชื่อมโยงและความคิดสร้างสรรค์ อยู่ในระดับ ดี ( = 3.97 และ S.D. = 0.52) และจากผลการประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน พบว่า มีนักเรียนที่มีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับ ดีมาก จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 23.33 และมีนักเรียนที่มีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับ ดี จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 76.67
ผลการจัดการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 รำวงมาตรฐาน นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับ ดีมาก ( = 4.53 และ S.D. = 0.23) โดยพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนประกอบด้วย ความสนใจ อยู่ในระดับ ดีมาก ( = 4.61 และ S.D. = 0.53) การร่วมแสดงความคิดเห็น อยู่ในระดับ ดี ( = 4.47และ S.D. = 0.56) การให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม อยู่ในระดับ ดีมาก ( = 4.75 และ S.D. = 0.45) ความถูกต้อง อยู่ในระดับ ดีมาก ( = 4.64 และ S.D. = 0.52) และการเชื่อมโยงและความคิดสร้างสรรค์ อยู่ในระดับ ดี ( = 4.17 และ S.D. = 0.62) และจากผลการประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน พบว่า มีนักเรียนที่มีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับ ดีมาก จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 40 และมีนักเรียนที่มีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับ ดี จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 60
ผลการจัดการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ลาวต่อนก นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับ ดีมาก ( = 4.57 และ S.D. = 0.32) โดยพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนประกอบด้วย ความสนใจ อยู่ในระดับ ดีมาก ( = 4.56 และ S.D. = 0.75) การร่วมแสดงความคิดเห็น อยู่ในระดับ ดีมาก ( = 4.67 และ S.D. = 0.68) การให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม อยู่ในระดับ ดีมาก ( = 4.67 และ S.D. = 0.68) ความถูกต้อง อยู่ในระดับ ดีมาก ( = 4.83 และ S.D. = 0.51) และการเชื่อมโยงและความคิดสร้างสรรค์ อยู่ในระดับ ดี ( = 4.11 และ S.D. = 0.85) และจากผลการประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน พบว่า มีนักเรียนที่มีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับ ดีมาก จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 40 และมีนักเรียนที่มีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับ ดี จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 60
และผลการจัดการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนภูมิวิทยา นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับ ดี ( = 4.48 และ S.D. = 0.18) โดยพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนประกอบด้วย ความสนใจ อยู่ในระดับ ดี ( = 4.45 และ S.D. = 0.38) การร่วมแสดงความคิดเห็น อยู่ในระดับ ดี ( = 4.47 และ S.D. = 0.41) การให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม อยู่ในระดับ ดีมาก ( = 4.61 และ S.D. = 0.35) ความถูกต้อง อยู่ในระดับ ดีมาก ( = 4.76 และ S.D. = 0.36) และการเชื่อมโยงและความคิดสร้างสรรค์ อยู่ในระดับ ดี ( = 4.08 และ S.D. = 0.49) และจากผลการประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน พบว่า มีนักเรียนที่มีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับ ดีมาก จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 40 และมีนักเรียนที่มีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับ ดี จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 60
การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสาระนาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนภูมิวิทยา พบว่า ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสาระนาฏศิลป์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนภูมิวิทยา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.68 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.48 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระนาฏศิลป์ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระนาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนภูมิวิทยามีการพัฒนาขึ้น โดยผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 75.87
2. อภิปรายผลการวิจัย
จากการศึกษาผลการจัดการเรียนรู้สาระนาฏศิลป์ โดยใช้กระบวนการการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนภูมิวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2560 พบว่า
ผู้วิจัยนำกระบวนการการศึกษาชั้นเรียน ตามแนวคิดของ ของ Inprasitha (2011) มาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชานาฏศิลป์ ร่วมกันรูปแบบวิธีการจัดการเรียนการสอน 3 รูปแบบ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบJigsaw การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และการจัดการเรียนรู้แบบ Open Approach โดยกระบวนการการศึกษาชั้นเรียนมีรายละเอียดขั้นตอนดังนี้
ขั้นการวางแผนบทเรียนร่วมกัน (Plan) ในขั้นตอนนี้ ผู้วิจัยได้ร่วมสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ในสาระนาฏศิลป์ ของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กับทีม ทำให้แผนการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากผู้ร่วมสร้างแผนต่างเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนมาแล้ว ดังนั้นทำให้มองเห็นจุดบกพร่องของการดำเนินกิจกรรมในชั้นเรียน ซึ่งจุดบกพร่องเหล่านั้นถูกนำมาอภิปรายเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ใหม่ และยังเป็นการระดมแนวคิดของผู้ร่วมสร้างแผนเพื่อสรรหากิจกรรมที่ดีและเหมาะสำหรับเนื้อหาสาระความรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์มากที่สุด และเพื่อให้ผู้เรียนได้สนุกกับกิจกรรมการเรียนการสอน เมื่อผู้วิจัยสร้างแผนการจัดการเรียนรู้เสร็จได้ส่งแผนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ เพื่อรับข้อเสนอแนะมาปรับปรุง ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่าแผนการจัดการเรียนการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากผ่านการตรวจสอบถึง 2 ครั้ง ครั้งที่หนึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้ร่วมเขียนแผน และขั้นที่สองผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ
ขั้นการสังเกตชั้นเรียนร่วมกัน (Do) เมื่อได้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้ร่วมสร้างกับทีม และผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว ผู้วิจัยนำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนจริง ตั้งแต่การเริ่มชั้นเรียนจนถึงการสรุปชั้นเรียนในขั้นตอนสุดท้าย โดยผู้วิจัยจะเป็นผู้สอน และมีทีมที่ได้ร่วมกันเขียนแผนจะร่วมสังเกตการเรียนจัดการเรียนการสอน ซึ่งผู้สังเกตไม่เข้าไปแทรกแซงแนวคิดของนักเรียน ในการสังเกตเป็นการสังเกตแนวคิดที่นักเรียนแสดงออกมา พฤติกรรม สีหน้า ท่าทาง เป็นการฝึกให้ครูได้สังเกตนักเรียนเพื่อทำความเข้าใจในนักเรียนแต่ละคน และยังเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนจากห้องเรียนจริง ถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อครูเป็นอย่างยิ่ง และในขั้นตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ผู้สังเกตมีการเก็บข้อมูลของชั้นเรียนเพื่อใช้ในการสะท้อนผลในขั้นต่อไป
ขั้นการสะท้อนผลชั้นเรียนร่วมกัน (See) ขั้นนี้มีการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ เริ่มจากครูผู้สอน และต่อด้วยครูผู้สังเกต เป็นการพูดถึงปัญหาและอุปสรรค จุดบกพร่อง การการจัดการเรียนการสอน และแนวคิดของนักเรียน โดยข้อมูลที่ได้ในขั้นนี้ถูกนำไปปรับปรุงแผนการสอนในครั้งต่อไป
จากการจัดการเรียนรู้รายวิชานาฏศิลป์โดยใช้กระบวนการการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) ร่วมกันรูปแบบวิธีการจัดการเรียนการสอน 3 รูปแบบ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบJigsaw การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และการจัดการเรียนรู้แบบ Open Approach สามารถพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนได้จริงโดยอาศัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูที่ทำงานกันเป็นทีม ผ่านขั้นตอนของกระบวนการศึกษาชั้นเรียน เห็นได้จากผลการประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนที่อยู่ในระดับดีและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยผลที่ได้พบว่าผลการทดสอบหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากผลการทดสอบก่อนเรียนร้อยละ 75.87 แสดงให้เห็นว่า เมื่อครูมีการพัฒนากระบวนจัดการเรียนการสอนอยู่ตลอดเวลาโดยอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างครูในโรงเรียน มีการร่วมกันคิด ร่วมกันปฏิบัติ ร่วมกันสะท้อนถึงปัญหาจากการปฏิบัติก็จะทำให้ครูมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ สอดคล้องกับ สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง (2555) กล่าวว่า การศึกษาชั้นเรียนสามารถทำให้เกิดการปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ คุณภาพการสอนของครู และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และยังสอดคล้องกับ Lewis (2005 อ้างถึงใน วาสุกรี ใจจันทร์, 2555) กล่าวว่า การศึกษาชั้นเรียนทำให้ครูมีความรู้ที่เพิ่มขึ้นในส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระ การสอน ความสามารถในการสังเกตนักเรียน เครือข่ายที่แข็งแกร่งเกี่ยวกับนักศึกษา การเชื่อมโยงงานภาคปฏิบัติในชีวิตประจำวันซึ่งเป็นเป้าหมายในระยะยาว สร้างแรงจูงใจที่แข็งแกร่งขึ้นและความรู้สึกของการรับรู้ความสามารถและสามารถปรับปรุงคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีอยู่ และยังพบว่าในการจัดการเรียนรู้นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนในสาระนาฏศิลป์ โดยเห็นได้จากพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนที่แสดงให้เห็นว่า นักเรียนมีความสุขในการเรียน จากการยิ้ม การหัวเราะ ความมุ่งมั่นตั้งใจในระหว่างการทำกิจกรรมการแก้ปัญหาความพยายามมีส่วนร่วมในชั้นเรียนจากการตอบคำถามและการนำเสนอแนวคิดของตนเองต่อชั้นเรียน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสรุปได้ว่าการนำกระบวนการศึกษาชั้นเรียนโดยใช่ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนทั้ง 3 รูปแบบ สามารถสร้างความพึงพอใจต่อการเรียนในสาระนาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนภูมิวิทยาได้เป็นอย่างดี