เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะ ชุด การอ่าน
จับใจความสาคัญ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโคกสีวิทยาสรรค์
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
ผู้ศึกษา นางประเสริฐ จันชมภู
สถานศึกษา โรงเรียนโคกสีวิทยาสรรค์ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึก
ทักษะ ชุด การอ่านจับใจความสาคัญ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนโคกสีวิทยาสรรค์
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนโคกสีวิทยาสรรค์ จานวน
31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้แบบฝึก
ทักษะ จานวน 10 แผน และแบบฝึกทักษะ ชุด การอ่านจับใจความ สาคัญ สาหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2 จานวน 10 เล่ม แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้สอนสร้างขึ้น มีค่าความ
เชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 ( KR 20 ) และแบบวัดความพึงพอใจในการเรียนรู้ที่ผู้สอนสร้างขึ้น มีค่าความ
เชื่อมั่นเท่ากับ 0.76 ( = coefficient) สถิติที่ใช้ในการศึกษาคือ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย
( X ) และการทดสอบสมมติฐานโดยการหาค่าดัชนีประสิทธิผล ผลการศึกษาพบว่า
1. การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะ ชุด การอ่านจับใจความสาคัญ
สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.13 / 82.58 ผ่านตามเกณฑ์
มาตรฐานที่ตั้งไว้คือ 80 / 80
2. การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะ ชุด การอ่านจับใจความสาคัญ
สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7338
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 มีความพึงพอใจในการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้
แบบฝึกทักษะ ชุด การอ่านจับใจความสาคัญ อยู่ในระดับมาก
ความสาคัญของปัญหา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
เน้นผู้เรียนมีความสาคัญที่สุด (มาตรา 22) ครูต้องสร้างความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งมีความสามารถ
ทางด้านวิจัย (มาตรา 30) รู้จักใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนา
ตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ ควรจัดเนื้อหาสาระกิจกรรม โดยคานึงถึงความแตกต่างระหว่าง
ผู้เรียน ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อ
ป้องกันและแก้ไขปัญหา ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ผสมผสานความรู้อย่างสมดุล จัด
สภาพผู้เรียนให้ได้เรียนรู้อย่างรอบด้าน และประสานความร่วมมือ ครูจะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทจาก
การเป็นผู้ชี้นา ผู้ถ่ายทอดความรู้ ไปเป็นผู้ช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนในการแสวงหาความรู้จากสื่อ
และแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ (สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2552 : 21)
การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
และถือว่าผู้เรียนมีความสาคัญที่สุด ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มตาม
ศักยภาพ การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
ต้องเน้นความสาคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของ
แต่ละระดับการศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาดาเนินการ คือ จัดเนื้อหาสาระและ
กิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคานึงถึงความแตกต่างระหว่าง
บุคคล ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดประเชิญสถานการณ์และประยุกต์ความรู้มาใช้ป้องกันและ
แก้ไขปัญหา จัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทาได้ คิดเป็น
จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝัง
คุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอน
สามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอานวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการ
เรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอน
และผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ จัดการ
เรียนรู้ให้เกิดได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือระหว่างบิดา มารดา ผู้ปกครอง
และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการ
เรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสม
กับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 3)
การจัดการศึกษาอันเป็นพื้นฐานสาคัญที่จะพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดี มี
ปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถดารงชีวิตอย่างมีความสุขตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 นั้น ได้กาหนดสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตร ซึ่งประกอบ
ด้วยองค์ความรู้หรือทักษะกระบวนการเรียนรู้ และคุณลักษณะหรือค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมของ
ผู้เรียนเป็น 8 กลุ่มสาระ คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ (กระทรวงศึกษาธิการ.
2551 : 5) สาระการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นสาระการเรียนรู้ที่จัดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แต่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยยังประสบปัญหาหลาย
ประการ การเรียนภาษาไทยยังเป็นเรื่องยากสาหรับผู้เรียน เพราะภาษาไทยเป็นระบบสัญลักษณ์ที่มี
ความซับซ้อน ดังนั้นการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับวัยและความสนใจของผู้เรียนเพื่อให้การ
เรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและผู้เรียนจะได้ใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ในด้านอื่นๆ
ต่อไปจึงเป็นเรื่องสาคัญ
อนึ่งภาษาไทยมีส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระ ได้แก่ สาระการอ่าน การอ่านถือเป็นทักษะที่มี
ความสาคัญและจาเป็นอย่างยิ่งต่อการดาเนินชีวิต เนื่องจากการอ่านจะช่วยส่งเสริมให้คนแสวงหา
ข้อมูลเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และพัฒนาสติปัญญาอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากความคิดเห็นของ
นักวิชาการหลายท่านที่มีต่อความสาคัญของการอ่าน อาทิ สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
(2555 : 14) ได้กล่าวถึงความสาคัญของการอ่านไว้ ว่าเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ โดยเฉพาะ
ผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาจาเป็นต้องอ่านหนังสือ เพื่อการศึกษาหาความรู้ด้านต่างๆ นอกจากนี้การอ่านเป็น
เครื่องมือช่วยให้ประสบความสาเร็จในการประกอบอาชีพ เพราะสามารถนาความรู้ที่ได้จากการอ่าน
ไปพัฒนาตนและพัฒนางาน อีกทั้งเป็นเครื่องมือสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนรุ่น
ต่อๆ ไป ส่งเสริมให้คนมีความคิด และฉลาดรอบรู้ เพราะประสบการณ์ที่ได้จากการอ่าน เมื่อเก็บ
สะสมเพิ่มพูนนานวันเข้า ก็จะทาให้เกิดความคิด เกิดสติปัญญาเป็นคนฉลาดรอบรู้ได้ นอกจากนี้การ
อ่านยังเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลินบันเทิงใจ เป็นวิถีหนึ่งในการแสวงหาความสุขให้แก่
ตนเองที่ง่ายที่สุด และได้ประโยชน์คุ้มค่าที่สุด เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทาให้เป็นคนที่สมบูรณ์ทั้ง
ด้านจิตใจ และบุคลิกภาพ เพราะเมื่ออ่านมากย่อมรู้มาก สามารถนาความรู้ไปใช้ในการดารงชีวิตได้
อย่างมีความสุข การอ่านเป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาระบบสื่อสาร และการใช้เครื่องมือทาง
อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สอดคล้องกับชัยวุฒิ สินธุวงศานนท์ (2555 : 2) ให้ความคิดเห็นไว้ว่าการอ่าน
เป็นหัวใจของการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาและมีความสาคัญต่อการดาเนินชีวิต เป็นทักษะพื้นฐาน
ที่จาเป็นในการดารงชีวิตในปัจจุบัน ในชีวิตประจาวันเราต้องอาศัยการอ่านเพื่อการดารงชีวิต นอกจากนี้
การอ่านยังเป็นเครื่องมือสาคัญในการเรียนรู้ เป็นรากฐานสาคัญของการศึกษา การอ่านเป็นสื่อสาคัญ
ในการพัฒนาและแก้ปัญหาสังคม เนื่องจากการอ่านจะทาให้เกิดการพัฒนาความคิด สติปัญญา
จริยธรรม ศีลธรรม เชาว์ปัญญา และจิตใจ ผลที่ตามมาก็คือ ทาให้สามารถกระทาตนให้เป็นประโยชน์
แก่สังคมส่วนรวม สามารถวินิจฉัยความถูกต้องของเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างฉับไว ประสบการณ์จากการ
อ่านทาให้เป็นผู้เข้าใจสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที ทาให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้ที่อ่านมากก็
ย่อมจะมีมุมมองและวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และเป็นคนยืดหยุ่น สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมและ
พัฒนาสังคมได้ ดังนั้นเมื่อทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมย่อมจะดีไปด้วย เมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ก็ย่อมจะ
รู้จักใช้สติปัญญาร่วมกันแก้ปัญหาก็จะทาให้สังคมนั้นอยู่อย่างมีความสุข ความสาคัญของการอ่านที่
กล่าวถึงข้างต้นยังสอดคล้องกับความคิดเห็นของ เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป (2552 : 1) ที่กล่าวถึง
ความสาคัญของการอ่านไว้ว่าการอ่านช่วยให้ผู้อ่านได้รับความรู้ มีความรอบรู้ ทันสมัย ทันเหตุการณ์
รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลก การอ่านจะช่วยพัฒนาความคิด และยกระดับสติปัญญา
ให้สูงขึ้น
จากความสาคัญของการอ่านดังกล่าวถึงข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า การอ่านถือเป็น
เครื่องมือสาคัญที่สุดในการกระตุ้นให้คนแสวงหาความรู้ เพิ่มพูนสติปัญญา ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ
และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทักษะด้านการพูด การฟัง และการเขียน ซึ่งผู้อ่านจะต้องรู้ และใช้วิธี
อ่านที่ถูกต้อง ฝึกฝนตนเองอย่างสม่าเสมอจะทาให้มีพื้นฐานในการอ่านที่ดี เกิดความชานาญ มีความรู้
กว้างขวาง และสามารถดารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข แต่เมื่อวิเคราะห์ปัญหา พิจารณา
รายงานผลการเรียนในแบบบันทึกพฤติกรรมการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และการบันทึกหลังการ
จัดการเรียนรู้ของโรงเรียนโคกสีวิทยาสรรค์ พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2558
ร้อยละ 73.14 ยังไม่ผ่านมาตรฐานการใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนาไปใช้
ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดาเนินชีวิต (โรงเรียนโคกสีวิทยาสรรค์. 2559 : 17 ) จากรายงานผลการ
ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยระดับประเทศ ปีการศึกษา 2558 ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า สาระการอ่านเฉลี่ยร้อยละ 38.83 สาระการเขียนเฉลี่ยร้อยละ 37.50 สาระ
การฟัง การดูและการพูดเฉลี่ยร้อยละ 56.25 สาระหลักการใช้ภาษา เฉลี่ยร้อยละ 41.99 และสาระ
วรรณคดีและวรรณกรรม เฉลี่ยร้อยละ 36.17 เห็นได้ว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระดับประเทศ ปีการศึกษา 2558 นั้น สาระที่มีค่าเฉลี่ย
สูงสุดคือสาระสาระการฟัง การดูและการพูด ส่วนสาระอื่นๆ มีคะแนนเฉลี่ยน้อย (โรงเรียนโคกสีวิทยา
สรรค์. 2559 : 4) สาระการอ่านจึงเป็นสาระที่ควรได้รับการพัฒนาให้มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น
อย่างไรก็ตามการอ่านจับใจความนั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก การให้นักเรียนฝึกทักษะการ
อ่านจับใจความสาคัญนั้นเป็นที่จะต้องทาการปฏิบัติซ้าๆ เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ที่สูง การใช้แบบฝึกนั้นเป็น
เครื่องมือในการฝึกฝนทักษะนั้นเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่ง ดังนั้นครูจาเป็นที่จะต้องสร้างแบบฝึกขึ้นสาหรับช่วย
ให้นักเรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านจับใจความสาคัญดีขึ้น กุญแจที่จะนาไปสู่ความสาเร็จในการเรียน
ภาษาไทยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 คือ นักเรียนต้องฝึกปฏิบัติทักษะการอ่านจับใจความ
สาคัญเป็นประจา การฝึกฝนอย่างสม่าเสมอจะทาให้นักเรียนเก่งได้ การเรียนภาษาไทยนั้นนอกจาก
เรียนให้เข้าใจแล้ว ก็จะต้องให้เกิดทักษะด้วยจึงจะเกิดประโยชน์ การใช้แบบ ฝึกทักษะในการสอน
เป็นวิธีการหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ และเป็นแนวทางให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่าง มีความสุขและช่วยให้
ผู้เรียนได้ฝึกหัดในส่วนที่เพิ่มเติมหรือเสริมจากหนังสือเรียนทั้งยังช่วยเสริมทักษะให้ดียิ่งขึ้น เป็นการ
สนองตอบต่อเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะการทาแบบฝึกทักษะที่เหมาะสมกับ
ความสามารถของผู้เรียนนั้นจะช่วยให้ครูมองเห็นจุดเด่นจุดด้อยของผู้เรียนได้ชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ครู
ดาเนินการปรับปรุงแก้ปัญหานั้นๆ ได้ทันท่วงที ดังเช่นการศึกษาของ ประไพ พูลภาพ. (2551 : 2) ที่
ได้พัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความสาคัญ ชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดเขาปฐวี กลุ่มทัพทัน 3 สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี เขต 1
จานวน 25 คน ผลการศึกษาพบว่าแบบฝึกมีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.30/87.71 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
นักเรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่
ระดับ .05 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหรือมีความก้าวหน้าทางการเรียนเป็นเพราะการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ มีความเหมาะสมกับผู้เรียน มีความชัดเจน นักเรียนได้เรียนด้วยตนเอง สอดคล้อง
กับ ศศิธร สุริยวงศ์ (2555 : 113) ที่กล่าวว่าประโยชน์ของแบบฝึกทักษะจะทาให้เกิดความชานาญ
เกิดเป็นทักษะ สามารถใช้ภาษาสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความคิดและเหตุผลสามารถ
ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินทักษะทางภาษาของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการจัด การ
เรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะเพื่อปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จึงเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้วิธี
หนึ่งที่เป็นส่วนเพิ่มเติมหรือเสริมสาหรับให้นักเรียนฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และมี
ทักษะเพิ่มขึ้น การให้นักเรียนได้ทาแบบฝึกมากๆ ช่วยให้มีพัฒนาการทางด้านเนื้อหาวิชาได้ดีขึ้น
จากการศึกษาเอกสาร หลักการ เหตุผล และงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน
ผู้สอนจึงสนใจที่จะพัฒนาแบบฝึกทักษะที่มีประสิทธิภาพ ชุด การอ่านจับใจความสาคัญ สาหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนโคกสีวิทยาสรรค์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการเรียนวิชา
ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี สามารถนาความรู้ไปใช้ในชีวิตประจาวันและเป็นแนวทางในการพัฒนา
กระบวนการเรียนรู้วิชาอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพต่อไป
ความมุ่งหมายในการศึกษา
1. เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชุด
การอ่านจับใจความสาคัญ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนโคกสีวิทยาสรรค์ ให้ได้
ประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80
2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชุด การ
อ่านจับใจความสาคัญ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโคกสีวิทยาสรรค์
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโคกสีวิทยาสรรค์
ในการเรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะ ชุด การอ่านจับใจความสาคัญ
สมมติฐานของการศึกษา
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยการใช้แบบฝึกทักษะ ชุด การอ่านจับ
ใจความสาคัญ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโคกสีวิทยาสรรค์ ผู้สอนได้ตั้งสมมุติฐาน
ไว้ดังนี้
1. การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชุด การอ่านจับใจความสาคัญ
สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโคกสีวิทยาสรรค์ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
80 / 80
2. ดัชนีประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึก ชุด การอ่านจับใจความ
สาคัญ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโคกสีวิทยาสรรค์ มีความก้าวหน้าตั้งแต่ร้อยละ 70
3. นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชุด การอ่าน
จับใจความสาคัญ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโคกสีวิทยาสรรค์ อยู่ในระดับมากขึ้นไป
ขอบเขตของการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้กาหนดขอบเขตในการศึกษา ดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย
1.1 ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนโคกสี
วิทยาสรรค์ จานวน 99 คน
1.2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนโคกสี
วิทยาสรรค์ อาเภอสว่างแดนดิน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23 จานวน 1
ห้องเรียน เลือกโดยเจาะจง (Purposive Selection) นักเรียนห้อง ม. 2/3 ซึ่งเป็นห้องเรียนที่นักเรียน
มีความสามารถทางการเรียน สูง ปานกลาง และต่า อยู่ในห้องเดียวกัน จานวนนักเรียน 31 คน
2. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา คือ ปีการศึกษา 2560 โดยใช้เวลารวม 20 ชั่วโมง
3. กรอบแนวคิดในการศึกษา
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และศึกษาความพึงพอใจในการเรียนวิชาภาษาไทย เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา คือ การอ่านจับใจความสาคัญ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระที่ 1 การอ่าน
มาตรฐานที่ ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนาไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการ
ดาเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน ซึ่งแบ่งเนื้อหาออกเป็นหน่วยย่อยๆ สร้างแผนการจัดการเรียนรู้
ออกเป็น 10 แผน ผนวกกับแนวคิดการสร้างแบบฝึกทักษะและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบ
ฝึกทักษะ รวมทั้งแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ เมื่อประสานแนวคิดดังกล่าว
จึงได้กรอบแนวคิดในการศึกษา ดังนี้
ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม
กรอบแนวคิดในการศึกษา
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การจัดทารายละเอียดในการเรียนการสอนไว้
ล่วงหน้าโดยการวิเคราะห์ หลักสูตร วิธีการจัดการเรียนรู้ วิธีวัดและประเมินผล จัดทาแผนการเรียนรู้
โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชุด การอ่านจับใจความสาคัญ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยผ่านการ
ตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ และผ่านการหาคุณภาพ นาไปใช้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะ
อย่างแท้จริง
2. แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชุด การอ่านจับใจความสาคัญ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้สอน
สร้างขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ สาระที่ 1 การอ่าน มาตรฐานที่ ท 1.1 ใช้
กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนาไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดาเนินชีวิต และมี
นิสัยรักการอ่าน
1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย
เรื่อง การอ่านจับใจความสาคัญ
การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
โดยใช้แบบฝึกทักษะ
ชุด การอ่านจับใจความสาคัญ สาหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2. ความพึงพอใจในการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
โดยใช้แบบฝึกทักษะ
ชุด การอ่านจับใจความสาคัญ
3. แบบฝึกทักษะ หมายถึง เครื่องมือที่ผู้สอนสร้างขึ้นสาหรับฝึกปฏิบัติระหว่างการจัดการ
เรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับ
ใจความสาคัญ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีรายละเอียดสอดคล้องกับเนื้อหาใน
บทเรียน ตามสาระและมาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
4. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะ ชุด การอ่านจับใจความสาคัญ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มี
ประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
4.1 80 ตัวแรก หมายถึง ร้อยละ 80 ของคะแนนด้านกระบวนการ เป็นคะแนน
เฉลี่ยที่ได้จากการทดสอบย่อยจากทุกแผนการจัดการเรียนรู้
4.2 80 ตัวหลัง หมายถึง ร้อยละ 80 ของคะแนนเฉลี่ยจากการทาแบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนทั้งหมด
5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสามารถในการเรียนรู้หรือคะแนนที่ได้จาก
การทาแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความสาคัญ
6. ดัชนีประสิทธิผล หมายถึง ตัวเลขที่แสดงถึงความก้าวหน้าในการเรียนของผู้เรียนที่
เรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะ ชุด การอ่านจับใจความสาคัญ สาหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้สอนสร้างขึ้นโดยเปรียบเทียบคะแนนที่เพิ่มขึ้นจากคะแนนทดสอบก่อนเรียนกับ
คะแนนที่ได้จากการทดสอบหลังเรียน
7. ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกชื่นชอบหรือพอใจต่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดย
ใช้แบบฝึกทักษะ ชุด การอ่านจับใจความสาคัญ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้สอนสร้างขึ้น
ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า(rating scale) 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย
และน้อยที่สุด ตามลาดับ
ผู้เชี่ยวชาญ
1. การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา การใช้ภาษา และความตรงเชิงโครงสร้างของแผนการจัดการ
เรียนรู้ และแบบฝึกทักษะ ชุด การอ่านจับใจความสาคัญ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษาได้นาแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะ ชุด การ
อ่านจับใจความสาคัญ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้น ให้ผู้เชี่ยวชาญจานวน 3 ท่าน
เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา การใช้ภาษา และความตรงเชิงโครงสร้างของบทเรียน โดยมีเกณฑ์
ในการเลือกผู้เชี่ยวชาญ คือ 1) เป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาหลักสูตรและการสอนและ
หรือสาขาเทคโนโลยีการศึกษา 2) เป็นครูชานาญการพิเศษด้านการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย 3) เป็นผู้อานวยการหรือรองผู้อานวยการผู้รับผิดชอบกลุ่มบริหารงานวิชาการหรือหัวหน้า
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษไทยโรงเรียนโคกสีวิทยาสรรค์ และ 4) ยินดีให้ความร่วมมือ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญใน
การศึกษาครั้งนี้ได้แก่
1. ดร.ภิญโญ ทองเหลา ตาแหน่งรองผู้อานวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อานวยการ
ชานาญการพิเศษ โรงเรียนส่องดาววิทยาคม สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
2. ดร.สถิตย์ ภาคมฤค หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สกลนคร
3. ว่าที่ รต.ดร.สุกิจ ศรีพรม ผู้อานวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อานวยการชานาญการ
พิเศษ โรงเรียนโคกสีวิทยาสรรค์ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23
2. การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ความสอดคล้องระหว่างคาถามกับพฤติกรรมที่ต้องการวัด
ผู้ศึกษาได้นาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดความพึงพอใจที่สร้างขึ้นไป
ให้ผู้เชี่ยวชาญจานวน 3 ท่านซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย และผู้เชี่ยวชาญ
ด้านการสร้างเครื่องมือวัดผลและประเมินผล แล้วนามาปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ ดังรายชื่อต่อไปนี้
1. ดร.นันทนา ลีลาชัย ตาแหน่งครู วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล 3 ยุติธรรมวิทยา สานักการศึกษาเทศบาลนครสกลนคร กรมส่งเสริม
การปกครองส่วนท้องถิ่น
2. นางสาวอัมพิกา พรหมพิทักษ์กุล ตาแหน่งครู วิทยฐานะครูชานาญการพิเศษ กลุ่ม
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต
23
3. นายสนธยา หลักทอง ตาแหน่งศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชานาญการพิเศษ
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2