วาสนา มะณีเรือง. (2561). รายงานผลการประเมินโครงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยเพื่อการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมของโรงเรียนวัดนาคู(จันทศึกษาคาร)
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของโครงการด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และผลกระทบ โดยมีผู้ให้ข้อมูลของการวิจัยครั้งนี้จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู 2) กลุ่มนักเรียน 3) กลุ่มผู้ปกครองนักเรียน และ 4) กลุ่มหัวหน้าส่วนฯ ประชาชนผู้เคยใช้บริการ ในการประเมินโครงการครั้งนี้ใช้รูปแบบซิปป์ไอ (CIPPI Model) โดยประยุกต์มาจาก CIPP Model ของ Denial L. Stufflebeam โดยนำรูปแบบการประเมินของ CIPP Model มาเป็นหลักในการประเมินและเพิ่มการประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation : I) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบวิธีการเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เครื่องมือในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลคำถามปลายเปิดใช้การวิเคราะห์และสรุปประเด็นสำคัญ
ผลการศึกษา พบว่า
1. การประเมินด้านบริบทของโครงการ พบว่า ทุกกลุ่มมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกกลุ่ม โดยกลุ่มกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด(4.70) รองลงมา คือ กลุ่มนักเรียนมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด (4.59) และกลุ่มผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด (4.56)
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า ทุกกลุ่มมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกกลุ่ม โดยกลุ่มกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด(4.84) รองลงมา คือ กลุ่มนักเรียนมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด (4.62) และกลุ่มหัวหน้าส่วนฯ ประชาชนผู้เคยใช้บริการมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด(4.60)
3. การประเมินด้านกระบวนการของโครงการ พบว่า ทุกกลุ่มมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกกลุ่ม โดยกลุ่มผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด(4.91) รองลงมา คือ กลุ่มนักเรียนมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด (4.87) และกลุ่มกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด (4.81)
4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า ทุกกลุ่มมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกกลุ่ม โดยกลุ่มหัวหน้าส่วนฯ ประชาชนผู้เคยใช้บริการมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด(4.94)รองลงมา คือกลุ่มผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด(4.93) และกลุ่มนักเรียนมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด (4.90)
5. การประเมินด้านผลกระทบของโครงการ พบว่า ทุกกลุ่มมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกกลุ่ม โดยกลุ่มกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด(4.76) รองลงมา คือกลุ่มหัวหน้าส่วนฯ ประชาชนผู้เคยใช้บริการมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด(4.64) และกลุ่มนักเรียนมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด (4.63)