ชื่อรายงานงาน รายงานการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านบทร้อยกรองประเภทกลอนหก
ชุด คำขวัญอำเภอพนัสนิคม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน นางพรทิพย์ รักยิ่ง
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการรายงาน
1. เพื่อพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านบทร้อยกรองประเภทกลอนหก ชุดคำขวัญอำเภอพนัสนิคม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน บทร้อยกรองประเภทกลอนหก ชุด คำขวัญอำเภอพนัสนิคม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียน โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านบทร้อยกรองประเภทกลอนหก ชุด คำขวัญอำเภอพนัสนิคม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าและพัฒนา โดยมีขั้นตอน 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านบทร้อยกรองประเภทกลอนหก ชุดคำขวัญอำเภอพนัสนิคม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 ซึ่งผู้รายงานสร้างและพัฒนาขึ้น มีเนื้อหาสาระตามคำขวัญอำเภอพนัสนิคม จำนวน 6 เล่ม พัฒนาคุณภาพด้วยการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ
ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาผลการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดคำขวัญอำเภอพนัสนิคม
กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านแปลงกระถิน
จำนวน 12 คน และโรงเรียนวัดหัวถนน จำนวน 8 คน อยู่ในเขตอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวนทั้งสิ้น 20 คน ดังนี้
1. ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน โดยเทียบกับเกณฑ์
ที่กำหนดร้อยละ 80
2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนกับหลังการใช้
3. ศึกษาพฤติกรรมความพึงพอใจของนักเรียนหลังการใช้
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านบทร้อยกรองประเภทกลอนหก
ชุดคำขวัญอำเภอพนัสนิคม โดยการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน ของนักเรียน
กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน
เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย หนังสือส่งเสริมการอ่าน บทร้อยกรองประเภทกลอนหก ชุดคำขวัญอำเภอพนัสนิคม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบประเมินความเหมาะสมของหนังสือส่งเสริมการอ่านบทร้อยกรองประเภทกลอนหก แบบทดสอบท้ายเรื่อง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่านบทร้อยกรองประเภทกลอนหก ของนักเรียน
สถิติที่ใช้ คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าอำนาจจำแนก ค่าความยากง่าย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t test)
จากการศึกษาการสร้างและหาประสิทธิภาพ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 พบว่า แบบฝึกเสริมทักษะแบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านเขียนคำจากบทร้อยกรอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 6 เล่ม มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ ดังนี้
1. หนังสือส่งเสริมการอ่านบทร้อยกรองประเภทกลอนหก ชุดคำขวัญอำเภอพนัสนิคม กลุ่มสารการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 84.15 / 82.83
2. ระดับความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียน หลังจากที่ได้ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
หลังการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านบทร้อยกรองประเภทกลอนหก ชุดคำขวัญอำเภอพนัสนิคม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 6 เล่ม มีผลดังนี้
2.1 เรื่อง พระพนัสบดีคู่บ้าน ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของพระพุทธรูป
คู่บ้านคู่เมืองของอำเภอพนัสนิคมและเรียนรู้รูปแบบฉันทลักษณ์ของบทร้อยกรองประเภทกลอนหก
มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ เท่ากับ 88 / 80.1
2.2 เรื่อง จักสานคู่เมือง ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเครื่องจักสาน
ในอำเภอพนัสนิคม และเรียนรู้ ลักษณะของบทร้อยกรองประเภทกลอนหก ลักษณะคำคล้องจอง มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ เท่ากับ 89.5 / 83.3
2.3 เรื่อง ลือเลื่องบุญกลางบ้าน ผู้เรียนได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของประเพณี
บุญกลางบ้าน ในอำเภอพนัสนิคม และเนื้อหาเรื่องคำคล้องจอง มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ เท่ากับ
89.5 / 86.1
2.4 เรื่อง ตำนานพระรถเมรี ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องราวของนิทานพื้นบ้านเรื่องนางสิบสอง
ในท้องถิ่นอำเภอพนัสนิคม และเนื้อหาของสาระความรู้เกี่ยวกับคำสัมผัสในบทร้อยกรอง มีประสิทธิภาพ
สูงกว่าเกณฑ์ เท่ากับ 88 / 81.1
2.5 เรื่อง ศักดิ์ศรีเมืองสะอาด ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงรางวัลเกียรติยศ เมืองสะอาดอันดับหนึ่ง
ของไทย ที่อำเภอพนัสนิคม ได้รับและเรียนรู้เกี่ยวกับ กลอนหกชวนอ่าน มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ เท่ากับ 87 / 83
2.6 เรื่อง เก่งกาจการทายโจ๊ก ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของ
การทายโจ๊ก หรือปริศนาร้อยกรอง พร้อมกับตัวอย่างโจ๊กปริศนา มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์
เท่ากับ 93.5 /91.3
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนก่อนและหลังใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านบทร้อยกรองประเภทกลอนหก ในปีการศึกษา 2560 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านสูงกว่าก่อนใช้ นั้นคือ นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้บทร้อยกรองประเภทกลอนหก ที่เป็นคำขวัญของอำเภอพนัสนิคม และเรื่องราวของท้องถิ่นของตนเอง
4. นักเรียนปีการศึกษา 2560 มีความพึงพอใจต่อหนังสือส่งเสริมการอ่านบทร้อยกรองประเภทกลอนหก ชุดคำขวัญอำเภอพนัสนิคม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความพอใจต่อวิธีการในการจัดการจัดกิจกรรม สามารถช่วยเรียนรู้หนังสือส่งเสริมการอ่านบทร้อยกรองประเภทกลอนหก ที่สุด
คำสำคัญ: หนังสือส่งเสริมการอ่าน / บทร้อยกรองประเภทกลอนหก / คำขวัญ