การดำเนินธุรกิจด้วย Business Model Canvas
ผลจากประชุมครูที่ดำเนินกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้กลุ่มอาหาร และทำ SWOT analysis ได้ข้อมูลดังนี้
จุดแข็ง
1. นักเรียนที่เข้ากลุ่มมีความสนใจด้านอาหารมาก ทั้งการปรุง การชิม
2. สถานที่ที่ดำเนินการเอื้อต่อการขาย อยู่ในเขตชุมชน
3. ผู้บริหารให้การสนับสนุน
4. โรงเรียนมีนโยบายส่งเสริมการค้าขายโดยมอบร้านค้าในโรงอาหารสำหรับเป็นสถานที่ฝึกประกอบการ
จุดอ่อน
1. ในช่วงแรกมีวัสดุ อุปกรณ์ไม่เพียงพอ
2. นักเรียนยังมีประสบการณ์ในการประกอบอาหารน้อย
3. เวลาในช่วงประกอบการน้อย
โอกาส
1. นโยบายของรัฐบาล บวกกับการประกาศตัวของจังหวัดตราดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษก่อให้เกิดการส่งเสริมธุรกิจด้านอาชีพ
2. ผู้ปกครองให้การสนับสนุน
3. ความสามารถในการเข้าถึงการประชาสัมพันธ์
อุปสรรค
1. ราคาวัตถุดิบ มีขึ้นลง ไม่แน่นอน
2. คู่แข่งทางการค้าสูง
3. รสนิยมในการรับประทานอาหารของคนตราด
ประชุมครูเพื่อจัดทำ The Business Model Canvas ได้ข้อสรุปของที่ประชุม ดังนี้
1. ผัง The Business Model Canvas
2. รูปแบบ
3. จัดตารางเรียนนักเรียน จัดตารางสอนครู
4. ครูออกแบบโปรแกรมการสอนและแบบประเมินความพึงพอใจในการประกอบธุรกิจตามฐานกิจกรรม
5. กำหนดตารางการนิเทศ และดำเนินการนิเทศ
6. นักเรียนสมัครเข้ากลุ่มกิจกรรมตามความสนใจของตนเอง
7. ดำเนินกิจกรรมตามโปรแกรมการสอนที่ทำไว้
8. ประชุม AAR
ภาพความสำเร็จจากการวิจัย
1. ได้กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สู่ธุรกิจพอเพียงโดยใช้การจัดกิจกรรมการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน
2. ได้ส่งเสริมการจัดกลุ่มธุรกิจของนักเรียนตามความสนใจได้