ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้โรงเรียนนาเฉลียงพิทยาคม
ปีการศึกษา 2559
ผู้ประเมิน พลฯสุริยัน จันเกิน รองผู้อำนวยการโรงเรียนนาเฉลียงพิทยาคม
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้โรงเรียนนาเฉลียงพิทยาคมมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้โรงเรียนนาเฉลียงพิทยาคมโดยใช้รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีมและคณะ ประกอบด้วยการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนนาเฉลียงพิทยาคมเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่แบบสอบถามที่ผู้ประเมินสร้างขึ้นจำนวน 3 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1.ด้านบริบท (Context) ในภาพรวมโครงการมีความสอดคล้องกับบริบทในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โครงการสอดคล้องกับข้อเสนอแนะของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.)ในการประเมินรอบสามของโรงเรียนมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ โครงการเป็นไปตามความต้องการของนักเรียน มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ในภาพรวมผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2.ด้านปัจจัย (Input) ในภาพรวมปัจจัยของโครงการมีความเหมาะสมในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่บุคลากร มีความเหมาะสมในระดับมากส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านงบประมาณ มีความเหมาะสมในระดับมาก ในภาพรวมผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
3.ด้านกระบวนการ (Process) ในภาพรวมมีการปฏิบัติตามกระบวนการอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านกิจกรรมการเตรียมการ มีการปฏิบัติในระดับมาก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านกิจกรรมการจัดทำทะเบียนและสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ มีการปฏิบัติในระดับมาก ในภาพรวมผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4. ด้านผลผลิต (Product) ในภาพรวมผลผลิตตามวัตถุประสงค์ของโครงการตามมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ด้านผลที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน มีการปฏิบัติในระดับมาก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ในภาพรวมผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด