ชื่อผลงาน รายงานผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดทุ่งใหญ่
ปีการศึกษา 2560
ผู้รายงาน ศุภโชค สินกั้ง
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดทุ่งใหญ่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2560
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดทุ่งใหญ่ ปีการศึกษา 2560 มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน วัดทุ่งใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ปีการศึกษา 2560 ในด้านสภาวะแวดล้อมของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านปัจจัยพื้นฐาน ของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินการของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและด้านผลผลิตของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยศึกษาจาก กลุ่มตัวอย่าง คณะกรรมการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนจำนวน 15 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 46 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมี 2 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนวัดทุ่งใหญ่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ปีการศึกษา 2560 ของคณะกรรมการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และ แบบสอบถามปลายเปิด
2) แบบสอบถาม การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนวัดทุ่งใหญ่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ปีการศึกษา 2560 ของนักเรียนที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และ แบบสอบถามปลายเปิด ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดทุ่งใหญ่ สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ปีการศึกษา 2560 โดยใช้รูปแบบประเมินแบบ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม ภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติได้ผลดี โดย ด้านสภาวะแวดล้อม ผลอยู่ในระดับปฏิบัติได้ผลดีที่สุด ด้านปัจจัยพื้นฐาน ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ผลอยู่ในระดับปฏิบัติได้ผลดี
2. ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้กรอบการดำเนินงานของ ครูที่ปรึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติได้ผลดี โดย ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อทำการคัดกรอง ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการส่งต่อ ด้านผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผลอยู่ในระดับปฏิบัติได้ผลดี
3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
3.1 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมตามทัศนะของคณะกรรมการดำเนินงานระบบการดูแล
ช่วยเหลือนักเรียน
3.1.1 ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดกับการดำเนินงานโครงการระบบการดูแล
ช่วยเหลือนักเรียน ในภาพรวมพบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ มีฐานะยากจน ไม่เข้าใจในการเลี้ยงดูลูกหลานมักจะโยนความรับผิดชอบดูแลนักเรียนให้กับโรงเรียน บางคนไม่ยอมรับพฤติกรรมด้านลบของบุตรหลานของตนเอง เป็นปัญหามากที่สุด รองลงมาคณะกรรมการแต่ละทีม คือทีมนำ ทีมประสาน และทีมทำ ไม่ประสานการทำงานร่วมกัน ขาดการวางแผนที่ดี ตามแนวทาง ที่กรมสุขภาพจิตได้วางไว้ ส่งผลให้เกิดปัญหาในการดำเนินงานของแต่ละทีม และการดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง และปัญหาที่สำคัญเป็นลำดับที่สาม คือ การไปเยี่ยมบ้านของนักเรียน ต้องใช้เวลามาก เพราะบ้านของนักเรียนอยู่ห่างไกลจากโรงเรียนบางพื้นที่ไปเยี่ยมลำบาก
3.1.2 แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามความเห็นของคณะกรรมการระบบการดูแลช่วยเหลือ พบว่า คณะกรรมการแต่ละทีมคือทีมนํา ทีมประสาน และทีมทํา ต้องประสานงานในการวางแผนการทํางานให้ดี มีการกําหนดขั้นตอนที่ชัดเจนให้แต่ละทีมปฏิบัติ เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดีที่สุด รองลงมา คือ ควรให้ความรู้กับผู้ปกครองนักเรียนใน เรื่องการมีส่วนร่วมในการดูแลนักเรียนในระหว่างอยู่ที่บ้าน ลำดับที่สาม คือ กรณีที่บ้านของนักเรียนอยู่ไกลโรงเรียน ควรจัดรถบริการไปเยี่ยมบ้านให้กับครูโดยการจัดไปเป็นทีม
3.1.3 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อให้การดําเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด คณะกรรมการเสนอให้มีการประชุมชี้แจงและสร้างความตระหนักให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย คือครู ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการประสานงาน ได้ทราบความเคลื่อนไหวของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ รองลงมา ควรให้ชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมมากกว่าที่เป็นอยู่
4.1 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามความคิดเห็น
ของนักเรียน
4.1.1 ความต้องการของนักเรียนให้ครูที่ปรึกษาดำเนินการ โดยภาพรวมพบว่า ครูควรแนะนํานักเรียนได้ทุกเรื่อง และหากนักเรียนมีปัญหาไปปรึกษาควรเก็บเป็นความลับ ไม่ซ้ำเติมนักเรียน มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ ไม่ควรทําให้นักเรียนเครียด เช่น พูดมากเกินไป หรืออารมณ์ไม่ดีแล้วไปดุด่านักเรียน ลำดับที่สาม คือ ครูควรทำโทษนักเรียนเมื่อทำผิด
4.1.2 การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า ผู้ปกครองควรจะมีการประสานกับครูที่ปรึกษาเพื่อช่วยกันดูแลและแก้ไขปัญหานักเรียนทั้งทางจดหมาย โทรศัพท์ หรือมาพบด้วยตนเองมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ ควรอนุญาตให้ครูทำโทษนักเรียน เมื่อนักเรียนทําผิด ลำดับที่สาม คือ การติดต่อกับครูทุกเดือนเพื่อรับทราบความเป็นไปของบุตรหลานตนเองในระหว่างอยู่โรงเรียน
4.1.3 ปัญหาเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยภาพรวมพบว่า
ผู้ปกครองนักเรียนไม่สนใจปัญหาของนักเรียนและไม่หาแนวทางแก้ไขร่วมกับครูที่ปรึกษา มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ นักเรียนในปัจจุบันนี้ไม่เชื่อฟังครู ไม่เคารพครูและไม่ให้ความร่วมมือกับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ตามที่ครูหรือโรงเรียนกําหนดไว้ ลำดับที่สาม คือ ครูที่ปรึกษาให้การแก้ไขปัญหาช้าไม่ตรงกับความเร่งด่วนของปัญหา
4.1.4 ข้อเสนอแนะหรือแนวทางแก้ไขการดําเนินงานระบบการดูแล-
ช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน พบว่า ควรให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น และประชุมบ่อย ๆ เป็นแนวทางที่แก้ปัญหาได้ดีที่สุด รองลงมาคือ โรงเรียนควรจัดสถานที่พักผ่อนให้นักเรียนมากขึ้น
ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
1. จากผลการประเมิน ด้านสภาพแวดล้อม ที่พบว่า โครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
มีประโยชน์ต่อนักเรียนในสภาพสังคมปัจจุบัน และการดูแลนักเรียนอย่างเป็นระบบมีความสำคัญ นักเรียนมีความต้องการโครงการนี้มาก และผู้บริหารโรงเรียนเห็นความสำคัญของโครงการ จึงควรประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานให้กับผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบและจัดสร้างเครือข่ายในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พิทักษ์และคุ้มครองสิทธิ์ของนักเรียน
2. จากผลการประเมินด้านปัจจัย ที่พบว่า สถานที่เก็บเอกสารระบบการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปฏิบัติได้ผลพอใช้ ทางโรงเรียนจึงควรจัดสรรห้องเฉพาะหรือจัดศูนย์สารสนเทศและจัดให้มีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นมาตรฐานและสะดวกต่อการนำไปใช้
3. จากผลการประเมินด้านปัจจัย ที่พบว่า ในการเยี่ยมบ้านนักเรียนต้องใช้เวลามากและไปไม่
พบผู้ปกครองนั้น จึงควรกำหนดแผนการเยี่ยมบ้านของโรงเรียนให้ชัดเจน ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนและผู้ปกครองทราบและจัดให้มีการนัดหมายล่วงหน้าเพื่อครูที่ปรึกษาไม่ต้องไปหลายครั้ง
4. จากผลการประเมินด้านกระบวนการ ที่พบว่า ครูที่ปรึกษาในแต่ละระดับชั้นได้
วางแผนร่วมกันในการดำเนินงานและช่วยเหลือนักเรียนเป็นลำดับสุดท้าย จึงควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ เพื่อสร้างความตระหนักในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จัดทำปฏิทินหรือแผนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการแต่ละคณะ และทางโรงเรียนควรมีการนิเทศ ติดตามอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
5. จากผลการประเมินด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ที่พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนไม่
สนใจปัญหาของนักเรียนและไม่หาแนวทางแก้ไขร่วมกับครูที่ปรึกษา จึงควร จัดให้มีการประชุม อบรมให้ความรู้ แก่ผู้ปกครองหรือเครือข่ายผู้ปกครอง ในการสร้างความตระหนักในการดูแลนักเรียนร่วมกับทางโรงเรียน และครูที่ปรึกษาจะต้องติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองหลากหลายวิธีการ เช่น เยี่ยมบ้าน โทรศัพท์ จดหมาย ฯลฯ เพื่อให้ผู้ปกครองเห็นถึงความสำคัญของนักเรียนหรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียน
6. จากผลการประเมินโครงการโดยภาพรวม พบว่า การดำเนินโครงการระบบการดูแล
ช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับปฏิบัติได้ผลดี ดังนั้น โครงการระบบการดูแลช่วยแหลือนักเรียน โรงเรียนวัดทุ่งใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรังเขต 2 จึงสามารถนำไปใช้ได้กับโรงเรียนที่ต้องการดูแลเอาใจใส่นักเรียนอย่างเป็นระบบ
ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
1. การประเมินโครงการในครั้งนี้ ประเมินโครงการโดยศึกษาความคิดเห็นเฉพาะ
คณะกรรมการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และนักเรียนเท่านั้น ควรมีการสอบถามจากผู้ที่มี
ส่วนเกี่ยวข้องคือ ผู้ปกครอง ผู้นําชุมชน และหัวหน้าส่วนราชการในระดับท้องถิ่น เพื่อจะได้แนวคิดที่หลากหลายมากขึ้น
2. ควรมีการศึกษา เรื่อง พฤติกรรมนักเรียนจากการใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อแก้ไขพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของนักเรียน ในโรงเรียนวัดทุ่งใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรังเขต 2