ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน
โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2560
ผู้รายงาน : นางอรนุช สงแก้ว
รองผู้อำนวยการโรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2560
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2560 มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมิน ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) คุณภาพการส่งเสริมมีนิสัยรักการอ่าน 2) พฤติกรรมการมีนิสัยรักการอ่าน 3) การมีส่วนร่วมของนักเรียนครูและผู้ปกครองในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน 4) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการส่งเสริม นิสัยรักการอ่าน โดยศึกษาจาก กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 346 คน กลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 113 คน กลุ่ม ตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 346 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ทุกฉบับมี การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง .929 - .986 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS Version 23 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของนักเรียนโรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.17 , S.D. = .44) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (x̄= 4.28 , S.D. = .60) ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและตัวชี้วัด และรองลงมา ได้แก่ กลุ่มครูมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.13 , S.D. = .39) ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและตัวชี้วัด
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าในการดำเนินงานตามของโครงการส่งเสริม นิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.12 , S.D. = .46) ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และตัวชี้วัด
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการในการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน และผู้ปกครอง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.05 , S.D. = .73) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม ผู้ประเมินพบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (x̄= 4.11 , S.D. = .64) ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและตัวชี้วัด และรองลงมา ได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.10 , S.D. = .73) ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากเช่นกัน(x̄= 4.10 , S.D. = .73) ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต จำแนกเป็น
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตด้านคุณภาพการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.16 , S.D. = .63) ได้คะแนนเฉลี่ย 13 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมสูงสุด อยู่ในระดับมาก (x̄= 4.21 , S.D. = .56) ได้คะแนน 13 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา ได้แก่ กลุ่มครู อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.20 , S.D. = .39) ได้คะแนน 13 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากเช่นกัน (x̄ = 4.09 , S.D. = .72) ได้คะแนน 13 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และตัวชี้วัด
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิต ด้านพฤติกรรมการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.13 , S.D. = .69) ได้คะแนนเฉลี่ย 13 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.17 , S.D. = .70) ได้คะแนน 13 และกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.17 , S.D. = .67) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน ส่วนกลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.78 , S.D. = .61) ได้คะแนน 13 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และตัวชี้วัด
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตในการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู และผู้ปกครองในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.19 , S.D. = .69) ได้คะแนนเฉลี่ย 12 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม ผู้ประเมินพบว่ากลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.35 , S.D. = .46) ได้คะแนน 12 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่กลุ่มผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.17 , S.D. = .67) ได้คะแนน 12 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน (x̄ = 3.78 , S.D. = .61) ได้คะแนน 12 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและตัวชี้วัด
4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตด้านความพึงพอใจ ของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.18 , S.D. = .66) ได้คะแนนเฉลี่ย 12 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.44 , S.D. = .48) ได้คะแนน 12 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่กลุ่มผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.26 , S.D. = .61) ได้คะแนน 12 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.08 , S.D. = .73) ได้คะแนน 12 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและตัวชี้วัด
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรให้ความสำคัญกับการกำหนดนโยบายการเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน ของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน
2. โรงเรียนควรส่งเสริมอำนวยความสะดวกในด้านการจัดสรรงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และอาคารสถานที่ เพื่อส่งเสริมให้ทุกที่ในโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้และเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียน
3. ในการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน ได้แก่ พฤติกรรมการอ่าน การศึกษาค้นคว้า การใฝ่รู้ ใฝ่เรียน การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทุกกิจกรรมที่โรงเรียนมอบหมาย
4. ควรมีการนิเทศ ติดตาม กำกับดูแลช่วยเหลือและการประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการครอบคลุมผู้รับผิดชอบทั้งกลุ่มบริหารหัวหน้ากลุ่มสาระ และเป็นรายบุคคลแบบกัลยาณมิตร โดยเน้นการมีส่วนร่วม รวมทั้งมีการประเมินผล สรุปรายงานและเผยแพร่ผลงานโรงเรียนต่อสาธารณชน อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการหรือวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับงานหรือกลุ่มงานย่อยของโรงเรียน ทุกโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นที่เหมาะสม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อมูลและสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
2. ควรมีการประเมินโครงการในระบบองค์รวมของสถานศึกษา โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของซิปป์ (CIPP Model)