ชื่อเรื่อง รายงานการใช้ชุดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาการคิด
แก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้รายงาน วรางคณา วัฒนพานิช
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการใช้ชุดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนอนุบาลระยอง ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง จำนวนทั้งสิ้น 401 คน ประกอบด้วย เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 จำนวน 40 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 จำนวน 40 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 2/3 จำนวน 39 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 2/4 จำนวน 40 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 2/5 จำนวน 38 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 2/6 จำนวน 38 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 2/7 จำนวน 38 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 2/8 จำนวน 39 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 2/9 จำนวน 39 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 2/10 จำนวน 25 คน และชั้นอนุบาลปีที่ 2/11 จำนวน 25 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2/7 จำนวน 38 คน ซึ่งได้จากการเลือกสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 4 ชุด แผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 32 แผน
แบบประเมินพัฒนาการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย จำนวน 4 ชุด และแบบประเมินพัฒนาการระหว่างทำกิจกรรม จำนวน 32 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ และวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ T-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ที่ส่งผลต่อ การพัฒนาการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 83.36/85.34 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลการพัฒนาการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการใช้ชุดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01