การประเมินครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนวัดพรุศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฏร์ธานี เขต 2 โดยการประเมินโครงการครั้งนี้ ได้ใช้การประเมินรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัปเฟิลบีม คือ การประเมินบริบทของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ ประเมินกระบวนการของโครงการ และประเมินผลผลิตของโครงการ ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 130 คน ประกอบด้วย ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 19 คน นักเรียน จำนวน 59 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ คือ แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)
ใช้แบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในโรงเรียนวัดพรุศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฏร์ธานี เขต 2 พบว่า
1. การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดพรุศรีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสภาวะแวดล้อม
2. การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดพรุศรี
ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านสิ่งแวดล้อมในภาพรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความชัดเจนของเป้าหมาย
3. การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดพรุศรี
ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวม
อยู่ในระดับมาก โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความพร้อมของบุคลากร
4. การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดพรุศรี
ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวางแผน
5. การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดพรุศรี
ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านผลผลิต ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาช่วยให้นักเรียนมีประสบการณ์ด้านเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่ม
6. การประเมินผลความพึงพอใจของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่มีต่อโครงการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน อยู่ในระดับ
มากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ
7. การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดพรุศรี อยู่ในระดับมากที่สุด โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดแหล่งเรียนรู้ส่งผลให้โรงเรียนสะอาด ร่มรื่น สวยงาม
8. การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดพรุศรี อยู่ในระดับมาก โดยกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
คือ การแปรรูปน้ำพริกตะไคร้
9. การประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดพรุศรี อยู่ในระดับมากที่สุด โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนจัดกิจกรรมน่าสนใจ
10. การประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดพรุศรี อยู่ในระดับมาก โดยกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
คือ การเลี้ยงปลาดุก