บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิค
K-W-D-L ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่แบบหมุน สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย ยุภาพร ราชสมบัติ
หน่วยงาน โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ชัยภูมิ
ปีการศึกษา 2560
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิค K-W-D-L ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่แบบหมุน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิค K-W-D-L ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่แบบหมุน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิค K-W-D-L ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่แบบหมุน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิค K-W-D-L ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่แบบหมุน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ชัยภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 22 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิค K-W-D-L ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่แบบหมุน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 8 ชุด เวลา 16 คาบเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิค K-W-D-L ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่แบบหมุน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิค K-W-D-L ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่แบบหมุน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1)/ค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์(E2) ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)และตรวจสอบสมมติฐาน ใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิค K-W-D-L ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่แบบหมุน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.33/ 75.08 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย x̄ เท่ากับ 13.59 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 1.33 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย x̄ เท่ากับ 27.41 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 2.11 ค่า t ที่คำนวณได้ เท่ากับ 34.69 มีค่า p เท่ากับ 0.00 ซึ่งน้อยกว่าระดับนัยสำคัญ .05 แสดงว่า คะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิค K-W-D-L ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่แบบหมุน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.65 , S.D. = 0.48)