ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การประกอบอาหารจากลำไย
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย วรรณพร บารุงยศ
หน่วยงาน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 26 อาเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การประกอบอาหารจากลำไย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ (1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การประกอบอาหารจากลำไย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การประกอบอาหารจากลำไย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การประกอบอาหารจากลำไย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จานวน 37 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 26 จังหวัดลำพูน สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้หน่วยการสุ่มคือห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 4 ชนิด คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จานวน 9 ชุด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 แผนการจัด
การเรียนรู้ จานวน 9 แผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ซึ่งเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.43 ถึง 0.77 และมีค่าอานาจจาแนก (r) ตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.75 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การประกอบอาหารจากลาไย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จานวน 10 ข้อ มีค่า IOC
ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 โดยในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การประกอบอาหารจากลำไย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.03/86.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
ข
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จานวน 37 คน ที่เรียนโดยใช้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การประกอบอาหารจากลำไย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
พบว่า นักเรียนสามารถทาคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ
48.36
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้
เรื่อง การประกอบอาหารจากลำไย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หลังจากที่เรียนรู้
ทั้ง 9 ชุดทุกคุณลักษณะในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73