ชื่อเรื่อง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการพัฒนาเว็บไซด์ Dreamweaver รายวิชาคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม รหัสวิชา ง 20204
ชั้น มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2
พัฒนาโดย นางพิลาศลักษณ์ อาคมศิลป์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
โรงเรียนรมย์พิทยาคม รัชมังคลาภิเษก
อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32
บทคัดย่อ
การนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในการเรียนการสอน มีคุณค่าทางการสอน คือ
เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความต้องการที่จะเรียน ลดปัญหาระหว่างครูกับนักเรียน เป็นการเรียน แบบเอกัตบุคคลผู้เรียนสามารถเรียนรู้ทันกันได้ และช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การพัฒนาเว็บไซด์ Dreamweaver ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การพัฒนาเว็บไซด์ Dreamweaver และ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ในการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2
ของโรงเรียนบ้านโพน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 3 ชนิด ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การพัฒนาเว็บไซด์ Dreamweaver แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากระหว่าง 0.30 0.75 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.25 0.79 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.43 - 0.97 และการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) สูตรการหาประสิทธิภาพ E1/E2 และสูตรการหาค่าดัชนีประสิทธิผล และ t - test (Dependent Samples)
ได้ผลการวิจัย ดังนี้
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
เรื่อง การพัฒนาเว็บไซด์ Dreamweaver ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.25/81.50
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีค่าเท่ากับ 0.7249 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 72.49
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนในการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.08 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีภาพประกอบและสีสันน่าสนใจเข้าใจง่าย มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.85 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.37
จากผลการวิจัย พบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเหมาะสมสามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้นมากขึ้น
สามารถเป็นแนวทางในการนำมาประยุกต์ใช้สำหรับครูผู้สอนและผู้ที่มีความสนใจในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาดังกล่าว ส่งเสริมให้ผู้เรียนสนใจเรื่องที่เรียนมากขึ้น
และใช้เป็นสื่อสำหรับนักเรียนเป็นรายบุคคลได้ดี ส่งเสริมทักษะในการแสวงหาความรู้จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ให้กับนักเรียน รวมทั้งสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในระดับที่สูงขึ้นได้