ชื่องานศึกษา การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์หรรษา เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้ศึกษา นางสาวสุธิมา สุวรรณรินทร์
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลทุ่งเสลี่ยม(ศรีเสลี่ยมวิทยา) อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
สังกัดเทศบาลตำบลทุ่งเสงี่ยม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ เป็นการศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์หรรษา เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3โรงเรียนเทศบาลทุ่งเสลี่ยม (ศรีเสลี่ยมวิทยา) อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย สังกัดเทศบาลตำบลทุ่งเสลี่ยม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาค้นคว้า คือ เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์หรรษา เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมการทดลองด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์หรรษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์หรรษา เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 15 ชุดกิจกรรม แผนการจัดประสบการณ์การปฏิบัติการทดลอง เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 30 แผน แบบสังเกตพฤติกรรมการสนทนา / ตอบคำถามและการร่วมกิจกรรมการทดลอง และแบบสังเกตพฤติกรรมการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t–test แบบ One - sample T - test)
ผลจากการศึกษา พบว่า
1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์หรรษา เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 15 ชุดกิจกรรม ที่นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างได้ประสิทธิภาพเท่ากับ 94.32/93.64 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2) พัฒนาการด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังการทดลองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเด็กกลุ่มตัวอย่างมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แยกเป็นรายด้านได้ดังนี้ ด้านทักษะการสื่อความหมาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คิดค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2.90 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.28 คิดเป็นร้อยละ 96.72 รองลงมาได้แก่ ด้านทักษะการสังเกต คิดค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2.82 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.38 คิดเป็นร้อยละ 93.89 รองลงมาได้แก่ ด้านทักษะการแสดงปริมาณ คิดค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2.74 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.43 คิดเป็นร้อยละ 91.24 และด้านทักษะการจำแนกประเภท มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คิดค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2.65 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.48 คิดเป็นร้อยละ 88.44