บทคัดย่อ
รายงานการวิจัยเรื่องการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึก
เสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุด อ่านเขียนเรียนสนุก
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางพรรัตน์ สัมฤทธิ์สุทธิ์ วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอนุบาลด่านมะขามเตี้ย
ปีการศึกษา 2559
วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ (1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุดอ่านเขียนเรียนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุดอ่านเขียนเรียนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (3) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุดอ่านเขียนเรียนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ(4)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ กลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุดอ่านเขียนเรียนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียน โรงเรียนอนุบาล ด่านมะขามเตี้ย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/ 2 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบสอบถามความพึงพอใจ และ (4) แผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลา จำนวน 22 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย และ ค่าt - test สามารถสรุปผลการวิจัยดังนี้
สรุปผลการวิจัย
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุด อ่านเขียนเรียนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ (E1) เท่ากับ 81.09 และประสิทธิภาพ (E2) เท่ากับ 83.57 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุดอ่านเขียนเรียนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 60.65 ( =12.13, S.D.= 1.89 ) หลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 89.78 ( =17.96, S.D.= 0.82 ) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุดอ่านเขียนเรียนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.7403 หรือคิดเป็นร้อยละ 74.03
4. ความพึงพอใจของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุดอ่านเขียนเรียนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( ) = 4.50 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = .18 มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก