บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนฝั่งแดงวิทยาสรรค์ ตำบลฝั่งแดง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนฝั่งแดงวิทยาสรรค์ ตำบลฝั่งแดง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 กับเกณฑ์ความสำเร็จที่กำหนดไว้ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ครูที่ปรึกษา จำนวน 35 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 522 คน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนฝั่งแดงวิทยาสรรค์ จำนวน 522 คน รวมจำนวน 1,079 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ครูที่ปรึกษา นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2560 และผู้ปกครองนักเรียน กำหนดจำนวน กลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเลขสุ่มของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970: 607-610) และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการเทียบสัดส่วน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท (Likert Rating Scale) วิเคราะห์ทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ย (X-bar ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนฝั่งแดงวิทยาสรรค์ ตำบลฝั่งแดง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 ปรากฏผลดังนี้
1.1 ด้านความสอดคล้องของบริบทโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด แสดงว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดและระดับมาก
1.2 ด้านความเพียงพอของปัจจัยนำเข้าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด แสดงว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดและระดับมาก
1.3 ด้านความเหมาะสมของกระบวนการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก แสดงว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ
1.4 ด้านผลผลิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก แสดงว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่ปรึกษา นักเรียน และผู้ปกครองต่อโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนฝั่งแดงวิทยาสรรค์ ตำบลฝั่งแดง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 เทียบกับเกณฑ์ความสำเร็จที่กำหนดไว้ (3.50) ทั้งโดยรวมและรายด้านสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกด้าน