ชื่อเรื่อง : รายงานการพัฒนาชุดการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่ของวัตถุ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย : ปิยนุช เมธา
ที่อยู่ : โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว จังหวัดใหม่ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ปีที่ศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อหาประสิทธิภาพการเรียนการสอนชุดการสอน เรื่อง การเคลื่อนที่ของวัตถุ วิชา
วิทยาศาสตร์(ฟิสิกส์พื้นฐาน) รหัส ว32101 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากชุดการสอน เรื่อง การเคลื่อนที่ของวัตถุ
วิชาวิทยาศาสตร์(ฟิสิกส์พื้นฐาน) รหัส ว32101 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจนักเรียนจากชุดการสอน เรื่อง การเคลื่อนที่ของวัตถุ วิชา
วิทยาศาสตร์(วิชาฟิสิกส์พื้นฐาน) รหัส ว32101 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 15 คน จาก 3 ห้องเรียน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling or judgment sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอน แบบสืบเสาะหาความรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์(ฟิสิกส์พื้นฐาน) เรื่องการเคลื่อนที่ของวัตถุ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 แผน 2) ชุดการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์พื้นฐาน) เรื่อง การเคลื่อนที่ของวัตถุ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์พื้นฐาน)เรื่อง การเคลื่อนที่ของวัตถุ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน เรื่อง การเคลื่อนที่ของวัตถุ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 10 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดการสอน เรื่อง การเคลื่อนที่ของวัตถุ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.65/81.33 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอน เรื่อง การเคลื่อนที่ของวัตถุ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ (.05 = 1.753) แสดงว่า ชุดการสอน ทำให้นักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 72.00
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้ โดยใช้ชุดการสอน เรื่อง การเคลื่อนที่ของวัตถุ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน เรื่อง การเคลื่อนที่ของวัตถุ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมมีความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.53 , SD = 0.74)