ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการอ่านออกเขียนได้
ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 13 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3
ผู้ประเมิน นายไพศาล ปันแดน
ระยะเวลาการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการอ่านออก เขียนได้ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 13 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP MODEL) ประเมินในด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 127 คน ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 181 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 308 คน และการประเมินความพึงพอใจของประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน ต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 13 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 กลุ่มละ 127 คน รวม 254 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การประเมิน คือ แบบสอบถามจำนวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินพบดังนี้
ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาต่อโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 13 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีผลการประเมินมากที่สุดคือด้านผลผลิต และด้านที่มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ ด้านปัจจัยนำเข้า ส่วนความคิดเห็นของครูผู้สอนวิชาภาษาไทย พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีผลการประเมินมากที่สุดคือด้านกระบวนการและด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านปัจจัยนำเข้า
เมื่อแยกรายด้าน พบว่า ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 13 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนวิชาภาษาไทย มีความเห็นตรงกันว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือกิจกรรมสามารถสร้างเสริมสภาพการอ่าน การเขียนของนักเรียนให้พัฒนาดีขึ้น
ด้านปัจจัยนำเข้า ผู้บริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ บุคลากรที่ร่วมดำเนินการโครงการมีความรู้ ความสามารถ เหมาะสม และเพียงพอ ส่วนครูผู้สอนวิชาภาษาไทย มีความเห็นว่า การให้ความร่วมมือในการระดมความคิดและ การดำเนินงานตามโครงการของบุคลากรมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
ด้านกระบวนการของโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 13 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ความคิดเห็น ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีการประชุมชี้แจงนโยบายยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ส่วนครูผู้สอนวิชาภาษาไทย มีความเห็นว่ามีการประสานความร่วมมือคณะทำงานระดับโรงเรียนและเขตพื้นที่มากที่สุด
ด้านผลผลิต ผู้บริหารสถานศึกษาเห็นว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ นักเรียนนำความรู้ ทักษะด้านการอ่านไปบูรณาการใช้ประโยชน์ในสาระการเรียนรู้อื่นได้ ซึ่งเห็นตรงกันกับครูผู้สอนวิชาภาษาไทย
ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 13 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ของประธานคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจในภาพรวมในระดับมากที่สุด และเห็นตรงกันว่าข้อส่งเสริมประสิทธิภาพการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน นี้ก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อนักเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง