ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการต้นแบบการเรียนรู้ตามวิถีพอเพียงโดยชุมชน โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ปีการศึกษา 2560
ผู้ประเมิน หฤทัย บุญประดับ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาต้นจั่น
คำสำคัญ รูปแบบการบริหารจัดการ, ต้นแบบการเรียนรู้ตามวิถีพอเพียงโดยชุมชน
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการต้นแบบการเรียนรู้ตามวิถีพอเพียงโดยชุมชน โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ปีการศึกษา 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการต้นแบบการเรียนรู้ตามวิถีพอเพียงโดยชุมชน โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ปีการศึกษา 2560 2) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการต้นแบบการเรียนรู้ตามวิถีพอเพียงโดยชุมชน โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ปีการศึกษา 2560 ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการบริหารจัดการต้นแบบการเรียนรู้ตามวิถีพอเพียงโดยชุมชน โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ปีการศึกษา 2560 เป็นรูปแบบความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และปราชญ์ชุมชน ในการบริหารจัดการต้นแบบการเรียนรู้ตามวิถีพอเพียง โดยใช้ขั้นตอนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR: Participatory Action Research) ตามแนวคิดของ ไพโรจน์ ชลารักษ์ (2548) โดยเริ่มจากขั้นการศึกษาบริบท ขั้นการกำหนดปัญหา ชั้นการวางแผนปฏิบัติงาน ขั้นการติดตาม ตรวจสอบ และปรับปรุง และขั้นการสรุปผล ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะร่วมกันดำเนินกิจกรรมทุกขั้นตอน โดยกิจกรรมทั้งหมด ประกอบด้วย 11 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมบุรณาการการเรียนรู้ตามวิถีพอเพียง 2) กิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน 3) กิจกรรมส่งเสริมการออมทรัพย์ 4) กิจกรรมยุวเกษตรอาหารกลางวันแบบยั่งยืน 5) กิจกรรมรักษาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน 6) กิจกรรมอนุรักษ์พลังงาน 7) กิจกรรมปราชญ์ชุมชนช่วยสอน 8) กิจกรรมตลาดนัดอาชีพชุมชน 9) กิจกรรมนักบัญชีน้อยสู่บัญชีครัวเรือน 10) กิจกรรมสารรักจากนักเรียนสู่ครอบครัว 11) กิจกรรม Open house school ซึ่งผลการหาคุณภาพของรูปแบบการบริหารจัดการต้นแบบการเรียนรู้ตามวิถีพอเพียงโดยชุมชน โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ปีการศึกษา 2560 จากการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ทุกข้อคำถามได้รับฉันทามติ และเมื่อเทียบกับเกณฑ์พบว่า อยู่ในระดับมาก
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการต้นแบบการเรียนรู้ตามวิถีพอเพียงโดยชุมชน โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ปีการศึกษา 2560
2.1 ระดับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และปราชญ์ชาวบ้าน พบว่า ในปีการศึกษา 2559 ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนในปีการศึกษา 2560 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก
2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีร้อยละของคะแนนเฉลี่ย ในปีการศึกษา 2560 บรรลุเป้าหมายตามที่สถานศึกษากำหนด และสูงกว่าปีการศึกษา 2559 ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาพรวม ปีการศึกษา 2560 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า ปีการศึกษา 2559
2.3 พฤติกรรมวิถีพอเพียงของนักเรียน โดยนักเรียนประเมินตนเอง ครู และผู้ปกครองเป็นผู้ประเมิน พบว่า ในปีการศึกษา 2559 พบว่าผลการประเมินการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนในปีการศึกษา 2560 จากการประเมินตนเองของนักเรียน และครูเป็นผู้ประเมิน การมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผู้ปกครองเป็นผู้ประเมิน อยู่ในระดับมาก
2.4 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น พบว่า ในปีการศึกษา 2560 นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับดีและดีเยี่ยม มากกว่าร้อยละ 80 ทุกข้อ
2.5 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และปราชญ์ชุมชน ที่มีต่อรูปแบบรูปแบบการบริหารจัดการต้นแบบการเรียนรู้ตามวิถีพอเพียงโดยชุมชน โรงเรียนบ้านนาต้นจั่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ปีการศึกษา 2560 พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด