บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องหลักธรรมที่สำคัญในพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD พร้อมทั้งตรวจสอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องหลักธรรมที่สำคัญในพระพุทธศาสนาด้วยการหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องหลักธรรมที่สำคัญในพระพุทธศาสนา รวมถึงการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องหลักธรรมที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ตลอดจนศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องหลักธรรมที่สำคัญในพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ใช้แบบวิจัยแบบกลุ่มเดียว กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านบางหิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบจำเพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา จำนวน 10 ข้อ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยเอง โดยการให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐาน ใช้การทดสอบทีแบบไม่อิสระ สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ การหาค่าความตรงตามสูตร IOC และการหาค่าความเที่ยง โดยใช้สูตร KR-20 สูตรอัลฟา หาค่าความยากง่าย และอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาด้วยสูตร E1 / E2 ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
ผลการวิจัย
ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องหลักธรรมที่สำคัญในพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD จำนวน 9 ชุด ได้แก่ 1) ขันธ์ 5, 2) หลักกรรม, 3) อกุศลกรรมบถ 10, 4) อบายมุข 6, 5) บุพนิมิตของมัชณิมาปฏิปทา, 6) ดรุณธรรม 6, 7) กุศลกรรมบถ 10, 8) สติปัฏฐาน 4, 9) มลคล 38 ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 และมีข้อค้นพบเสนอตามวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้
1. ผลการตรวจสอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องหลักธรรมที่สำคัญในพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD พบว่า
1.1 ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องหลักธรรมที่สำคัญในพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เท่ากับ 88.75/92.69
1.2 ประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องหลักธรรมที่สำคัญในพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เท่ากับ 0.85 หรือร้อยละ 85
1.3 หลังจากเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องหลักธรรมที่สำคัญในพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
1.4 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องหลักธรรมที่สำคัญในพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD อยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
1. จากผลการวิจัยที่พบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องหลักธรรมที่สำคัญในพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงควรนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องหลักธรรมที่สำคัญในพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ไปประยุกต์ใช้กับนักเรียน ระดับชั้นอื่น ๆ ตามความเหมาะสม โดยผู้สอนควรอธิบายวิธีการใช้ แนะนำเกี่ยวกับการอ่านคำชี้แจงให้เข้าใจ ศึกษาขั้นตอนในการทำแบบฝึกทักษะและการปฏิบัติกิจกรรมให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในขณะที่ปฏิบัติกิจกรรม สำหรับนักเรียนที่ต้องให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ครูควรให้คำแนะนำช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด
2. จากผลการวิจัยที่พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องหลักธรรมที่สำคัญในพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD อยู่ในระดับมากที่สุด เพราะมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เกิดความสนุกกับกิจกรรมการเรียนรู้ ไม่เกิดความเบื่อหน่ายเหมือนกระบวนการสอนแบบเดิม ครูจึงควรกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจและเกิดแรงจูงใจที่จะเรียน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้นอย่างน่าพอใจ
ข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป
1. ควรนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องหลักธรรมที่สำคัญในพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ไปวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพต่างกัน เช่น ระดับชั้นประถมศึกษา ซึ่งจะได้ทราบว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องหลักธรรมที่สำคัญในพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD มีผลต่อสถานภาพดังกล่าวหรือไม่เพียงใด เพื่อจะได้พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา ให้เหมาะสมกับกลุ่มต่าง ๆ ได้
2. ควรนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องหลักธรรมที่สำคัญในพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ไปประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิควิธีการและรูปแบบอื่น ๆ เช่น 4MAT CIPPA เพื่อจะได้ทราบว่ารูปแบบใดเหมาะกับนักเรียน หรือมีประสิทธิผลเพียงใด เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนานักเรียนได้ตรงตามศักยภาพ