ชื่อเรื่อง รายงานการสร้างและผลการใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง หลักภาษาไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน นางสาวปิยวรรณ พงษ์พิทักษ์
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
รายงานการสร้างและผลการใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง หลักภาษาไทยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง หลักภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง หลักภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง หลักภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสุขขุม(อนุสรณ์พลยงค์) กลุ่มโรงเรียนหนองหัววัว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1
ปีการศึกษา 2561 จำนวน 6 คน ซึ่งกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง(Purposive Sampling) ใช้เวลาในการเรียนครั้งนี้ 23 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง หลักภาษาไทยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (x̄ ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) หาค่าประสิทธิภาพโดยใช้สูตร (E1/E2) และสถิติทดสอบค่าที(t-test Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง หลักภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความเหมาะสมมากและประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.14/82.44 อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 80/80 และสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง หลักภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยการทดสอบค่าที(t-test =32.00)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
3. นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง หลักภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าความพึงพอใจอยู่ในระดับ
มากที่สุด (x̄ = 4.63, S.D. = 0.22 ) และสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้