รายงานผลการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาผู้นำศูนย์การเรียนชุมชนในกลุ่มประเทศอาเซียน (CLC Planning and Management: International Perspectives for CLC Leaders in the ASEAN Community) ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้นำศูนย์การเรียนชุมชนในกลุ่มประเทศอาเซียน และประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรการพัฒนาผู้นำศูนย์การเรียนชุมชนในกลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรศูนย์การเรียนชุมชนในกลุ่มประเทศอาเซียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการฝึกอบรมโครงการการพัฒนาผู้นำศูนย์การเรียนชุมชนในกลุ่มประเทศอาเซียน จำนวน 44 คนวิธีดำเนินการ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้นำศูนย์การเรียนชุมชนในกลุ่มประเทศอาเซียน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) สำรวจปัญหาและวิเคราะห์ความต้องการ 2) การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม 3) การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร และ
4) การปรับปรุงหลักสูตร และระยะที่ 2 การนำหลักสูตรไปใช้ เป็นการนำหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นไปใช้ เพื่อประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรู้ความเข้าใจ 2) ด้านเจตคติ และ 3) ด้านการนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า และคำถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t test และการแปลความหมายของค่าเฉลี่ย
ผลการดำเนินการ พบว่า
1. หลักสูตร การพัฒนาผู้นำศูนย์การเรียนชุมชนในกลุ่มประเทศอาเซียน มีองค์ประกอบของหลักสูตร ประกอบด้วย 1) ความเป็นมาของหลักสูตร 2) ปรัชญาและแนวคิด
3) วัตถุประสงค์ 4) โครงสร้างหลักสูตร 5) กระบวนการพัฒนาและกิจกรรม 6) สื่อและนวัตกรรมการพัฒนา 7) ระยะเวลาในการพัฒนา 8) การประเมินผล 9) คุณสมบัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม 10) วิทยากร และ11) รายละเอียดหน่วยการเรียนรู้
2. การประเมินประสิทธิผลของหลักสูตร การพัฒนาผู้นำศูนย์การเรียนชุมชนในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่พัฒนาขึ้น พบว่า 1) ด้านความรู้ ความเข้าใจ ก่อนการฝึกอบรมผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ ความเข้าใจในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.23 (X̅=2.23) หลังการฝึกอบรมผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X̅=4.37) คะแนนเฉลี่ยหลังการฝึกอบรมสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ด้านเจตคติ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความคิดเห็นต่อการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้นำศูนย์การเรียนชุมชนในกลุ่มประเทศอาเซียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 (X̅=4.17) และ 3) ด้านการนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติเป็นการติดตามการนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปใช้ พบว่า การนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปใช้ประโยชน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 (X̅=4.25)
การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้นำศูนย์การเรียนชุมชนในกลุ่มประเทศอาเซียน มีข้อเสนอแนะการจัดทำหลักสูตร ดังนี้ หลักสูตรควรมีความยืดหยุ่นในการใช้ภาษาของแต่ละประเทศในการฝึกอบรมและควรมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาสาระ ระยะเวลาการฝึกอบรมเพื่อความเหมาะสมตามความพร้อมของแต่ละหน่วยงาน สำหรับการติดตามการนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปใช้ ควรมีการสอบถามความคิดเห็นผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา และควรมีการศึกษาวิจัยการพัฒนาผู้นำศูนย์การเรียนชุมชนในกลุ่มประเทศอาเซียนให้ครอบคลุมทุกประเทศ เพื่อสร้างความยั่งยืนในการใช้ศูนย์การเรียนชุมชนเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเครื่องมือพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับภูมิภาคอาเซียนต่อไป
Title: The Curriculum Development on CLC Planning and Management: International Perspectives for CLC Leaders in the ASEAN Community
Researcher: Temchit Chantaka
Year: 2557 (2014)
Executive Summary
A Development of Curriculum CLC Planning and Management: International Perspectives for CLC Leaders in the ASEAN Community. The purposes of this study were: 1) to develop curriculum for leaders of learning center in the ASEAN Community and 2) to evaluate curriculum for leaders of learning center in the ASEAN Community. The research samples consisted of forty-four participants from the ASEAN Member. The research was conducted in 2 phrases. The first phrase was development curriculum and leaders in the ASEAN community including 4 steps; 1) Survey the problems and needs of community. 2) Create the training curriculum 3) Evaluate quality of training curriculum 4) Improve the curriculum. The second phrase was implementation and evaluated the quality of curriculum in three facts; 1) Knowledge and Understanding 2) Attitude
3) Knowledge to Practices. The research tools are the rating scale and questionnaires (open-ended). Data was analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and interpretation average.
The results of study were found that;
1. CLC Planning and Management: International Perspectives for CLC Leaders in the ASEAN Community curriculum consists of 1) Background of Curriculum 2) Philosophy and Concept 3) Objectives 4) Curriculum Structure 5) Process of Development 6) Instructional Media and Innovation Development 7) Period for Development 8) The Evaluation 9) The qualification of participants 10) Lecturer 11) Unit of Contents
2. Quality evaluation of CLC Planning and Management: International Perspectives for CLC Leaders in the ASEAN Community curriculum were found that; 1) Before training, participants have knowledge and understanding in low level. After training, participants gain a better knowledge and understanding in high level. The average score of after training is level of statistical significance .01. 2) Attitude of participants after training is higher than before training at the level of statistical significance .01. 3) Curriculum implementation, participants apply knowledge from the training at very good level.
There are comments about CLC Planning and Management: International
Perspectives for CLC Leaders in the ASEAN Community curriculum. First of all, language should be flexible for training course. Second, contents of training can be changed. Third, the period of development should be suitable with each organization. Fourth, monitoring and evaluation of participants after training should be evaluated by chief and colleagues. Recommendation for future research should be develop all leaders of Community Learning Center in the ASEAN Community for sustainable development and lifelong learning of people in the ASEAN Community