ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เพื่อพัฒนาการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านปางแก
ผู้ศึกษา กรรณิการ์ ขยันดี
ปีที่ศึกษา ๒๕๕๙
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เพื่อพัฒนาการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านปางแก มีวัตถุประสงค์
๑. เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เพื่อพัฒนาการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖โดยเทียบเกณฑ์ ๘๐/๘๐
๒. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะ
เพื่อพัฒนาการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
๓. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อพัฒนา
การเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านปางแก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต ๒ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๑๖ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย
๑) แผนการจัดการเรียนรู้ ๒) แบบฝึกทักษะ เพื่อพัฒนาการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
โดยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ๘๐/๘๐ ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน ๔) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ
เพื่อพัฒนาการเขียน ผลการหาคุณภาพเครื่องมือ พบว่า คุณภาพของแผนจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับ
ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๗๓ ผลการประเมินคุณภาพของแบบฝึกทักษะ อยู่ในระดับดีมาก
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๓ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าความยากง่าย (P)
อยู่ระหว่าง ๐.๓๑ ๐.๗๐ มีค่าอำนาจจำแนก (R) อยู่ระหว่าง ๐.๒๒ ๐.๘๙ มีค่าความเชื่อมั่น
ทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๓ โดยผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีความสอดคล้อง(IOC) ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกข้อ สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test (Dependent)
ผลการศึกษา พบว่า
๑. แบบฝึกทักษะ เพื่อพัฒนาการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๑.๐๒/๘๒.๙๒ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ๘๐/๘๐
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อพัฒนาการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๓. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อพัฒนาการเขียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๗ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๕๕