บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา โดยใช้แนวคิดดัชนีวัดความสำเร็จแบบสมดุล ของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1
ผู้วิจัย นางสาววันดี โต๊ะดำ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 โดยใช้แนวคิดดัชนีวัดความสำเร็จแบบสมดุล(Balanced Scorecard : BSC) 2) เพื่อประเมินความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสำหรับครูผู้สอนเพื่อการวิจัยเรื่องการประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา โดยใช้แนวคิดดัชนีวัดความสำเร็จแบบสมดุลของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 2) แบบสอบถามสำหรับนักเรียนเพื่อการวิจัยเรื่องการประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา โดยใช้แนวคิดดัชนีวัดความสำเร็จแบบสมดุลของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 3) แบบสอบถามสำหรับผู้ปกครองนักเรียนเพื่อการวิจัยเรื่องการประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา โดยใช้แนวคิดดัชนีวัดความสำเร็จแบบสมดุลของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 4) แบบสอบถามสำหรับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการวิจัยเรื่องการประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา โดยใช้แนวคิดดัชนีวัดความสำเร็จแบบสมดุลของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาตรัง เขต 1 5) แบบสัมภาษณ์สำหรับครูผู้สอนเพื่อการวิจัยเรื่องการประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา โดยใช้แนวคิดดัชนีวัดความสำเร็จแบบสมดุลของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ซึ่งได้จากการ สุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นครูผู้สอนทุกคนในระดับประถมศึกษา จำนวน 7 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ดำเนินการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 6 คน 3) นักเรียนโรงเรียน
บ้านโพรงจระเข้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) โดยสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นนักเรียนระดับชั้น ได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นชั้นที่มีความเหมาะสมในการใช้เครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วสุ่มอย่างง่าย (Random Sampling) โดยการจับฉลากจากนักเรียนในแต่ละระดับชั้น รวมทั้งสิ้น 27 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ซึ่งได้จากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นผู้ปกครองที่มีความเหมาะสมในการใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 30 คน รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 70 คน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการประเมินด้านผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องโดยครูผู้สอน
1.1 ผลการประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้โดยครูผู้สอน ด้านผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องประเด็นการพิจารณาด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.63, S.D.=0.32) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้อมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ยกเว้น นักเรียนมีความก้าวหน้าจากพื้นฐานเดิมในแต่ละปีในด้านความรู้ความเข้าใจและทักษะต่างๆ ตามหลักสูตร อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง และ นักเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยจากผลการทดสอบระดับชาติสูงขึ้น หรือค่าเฉลี่ยเป็นไปตามเป้าหมายมีความเหมาะสมในระดับมาก ( =4.60 และ 3.60) ตามลำดับ
1.2 ผลการประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้โดยครูผู้สอน ด้านผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องประเด็นการพิจารณาด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.86, S.D.=0.27) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้อมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือนักเรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม สม่ำเสมอ นักเรียนมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่น ในความเป็นไทย และเห็นคุณค่าเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยและแสดงออกได้อย่างเหมาะสมในชีวิตประจำวัน และ นักเรียนไม่เพิกเฉยต่อการกระทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และสามารถอยู่ร่วมกับครอบครัว ชุมชนและสังคมได้อย่างมีความสุข ( =5.00, S.D.=0.00) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ผู้เรียนมีความรู้และมีวิธีการป้องกันตนเองจากการถูกล่อลวง ข่มเหง รังแก จากบุคคลอื่นที่ไม่ประสงค์ดี ( =4.60, S.D.=0.55)
2. ผลการประเมินความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนและการจัดการศึกษาตามหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน
2.1 ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนและการจัดการศึกษาตามหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนของนักเรียน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =4.27, S.D.=0.67) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ คำสั่งสอนของครูมีประโยชน์ต่อการเรียน การดำเนินชีวิต ( =4.62, S.D.=0.52) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ นักเรียนมีความรู้ มีความสามารถ มีทักษะด้านต่างๆและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ( =3.88, S.D.=0.72)
2.2 ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนและการจัดการศึกษาตามหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนของผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =4.33, S.D.=0.61) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นักเรียนมีความรู้ มีความสามารถ มีทักษะด้านต่างๆและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ( =4.70, S.D.=0.47) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ นักเรียนได้ใช้แหล่งเรียนรู้ต่างๆ อย่างหลากหลาย ได้ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยอย่างทั่วถึงและเพียงพอ ( =3.97, S.D.=0.76)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตรโดยครูผู้สอน
3.1 ความคิดเห็นของครูผู้สอนด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประเด็นการพิจารณาการมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.73, S.D.=0.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนได้เป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจอย่างชัดเจนสอดคล้องและตรงกับวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาชาติ ( =5.00, S.D.=0.00)
3.2 ความคิดเห็นของครูผู้สอนด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประเด็นการพิจารณาการวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.66, S.D.=0.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนมีแผนงาน โครงการที่ตอบสนองและสอดคล้องกับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและท้องถิ่นอย่างครอบคลุม และ ผลการจัดการศึกษาบรรลุตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนงาน โครงการ อย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม ( =5.00, S.D.=0.00) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ โรงเรียนกำหนดให้มีแผนงาน โครงการ กิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลายเหมาะสมกับท้องถิ่น เป็นมาตรฐาน สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง ความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและสังคม ( =4.20, S.D.=0.45)
3.3 ความคิดเห็นของครูผู้สอนด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประเด็นการพิจารณาการมีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมประเด็นการพิจารณาการมีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.57, S.D.=0.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนจัดให้มีกิจกรรมพิเศษต่างๆ อย่างหลากหลายเพื่อให้นักเรียนได้เลือกเรียนรู้ตามความสนใจ ( =4.80, S.D.=0.45) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ แสดงออก นำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็น คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง และนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ( =4.40, S.D.=0.55)
3.4 ความคิดเห็นของครูผู้สอนด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประเด็นการพิจารณาการจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60, S.D.=0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีระบบในการส่งเสริมความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับชุมชนในการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน ( =4.80, S.D.=0.45) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ( =4.40, S.D.=0.55)
3.5 ความคิดเห็นของครูผู้สอนด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประเด็นการพิจารณาการตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.72, S.D.=0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตรโดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน
2.1 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประเด็นการพิจารณาการมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60, S.D.=0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนได้เป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจอย่างชัดเจนสอดคล้องและตรงกับวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาชาติ ( =4.80, S.D.=0.45) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ เป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจของโรงเรียนที่กำหนดมีความสอดคล้องและตอบสนองความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น ( =4.40, S.D.=0.55)
2.2 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประเด็นการพิจารณา การวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.71, S.D.=0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนางานวิชาการและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน ( =5.00, S.D.=0.00) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ โรงเรียนกำหนดให้มีแผนงาน โครงการ กิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลายเหมาะสมกับท้องถิ่น เป็นมาตรฐาน สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง ความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและสังคม ( =4.40, S.D.=0.55)
2.3 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประเด็นการพิจารณาการมีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.63, S.D.=0.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย สรุปองค์ความรู้ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้ นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และผู้เรียนได้เรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง เช่น การทำโครงงาน ( =4.80, S.D.=0.45) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ตนเอง กำหนดเนื้อหาสาระ กิจกรรมที่สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของตนเอง และ ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ แสดงออก นำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็น คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ( =4.40, S.D.=0.55)
2.4 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประเด็นการพิจารณาการจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.73, S.D.=0.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ( =5.00, S.D.=0.00)
2.5 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประเด็นการพิจารณาการตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.68, S.D.=0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีระบบ ขั้นตอน แนวปฏิบัติและระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม และมีการจัดระบบการบันทึก การรายงานผลและการส่งต่อข้อมูลของผู้เรียน ( =4.80, S.D.=0.51)
5. ผลการประเมินด้านการพัฒนาบุคลากรโดยครูผู้สอน
1.1 ความคิดเห็นครูผู้สอน ด้านการพัฒนาบุคลากร ประเด็นการพิจารณาการวางแผนและดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60, S.D.=0.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ครูมีการพัฒนาตนเองด้วยวิธีการต่างๆ แสวงหาความรู้ เทคนิควิธีการและนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ( =4.80, S.D.=0.45) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ มีแผนงาน โครงการและระบบที่ขัดเจนในการพัฒนาครูสู่มืออาชีพ และมีการดำเนินการพัฒนา ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพแก่ครูอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง ( =4.40, S.D.=0.55)
1.2 ความคิดเห็นครูผู้สอน ด้านการพัฒนาบุคลากร ประเด็นการพิจารณาความพึงพอใจ ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =4.48, S.D.=0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ท่านพึงพอใจกับค่าตอบแทนที่ได้รับ และ ผู้บริหารให้ความสำคัญกับความต้องการ ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ( =4.80, S.D.=0.45) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ท่านพึงพอใจในสภาพแวดล้อมของการปฏิบัติงานของสถานศึกษา และการทำงานร่วมกับผู้บริหารและครูผู้สอนคนอื่นๆ และ ท่านพึงพอใจ เกิดความรัก ศรัทธาในวิธีการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา ( =4.20, S.D.=0.45)
6. ผลการประเมินด้านการพัฒนาบุคลากรโดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน
ความคิดเห็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการพัฒนาบุคลากร ประเด็นการพิจารณาการวางแผนและดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =4.36, S.D.=0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ครูมีคุณธรรม จริยธรรมและปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีความมุ่งมั่นและอุทิศตนในการสอนและพัฒนานักเรียน ( =4.60, S.D.=0.55) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ครูมีวุฒิ มีความรู้ ความสามารถและทักษะเหมาะสมตามมาตรฐานตำแหน่ง และ ครูสอนตรงตามวิชาเอก/วิชาโท หรือความถนัด มีครูครบชั้นและห้องมีสัดส่วนครูต่อนักเรียนและมีจำนวนคาบสอนตามเกณฑ์ ( =4.20, S.D.=0.45)
7. ผลการประเมินด้านงบประมาณและทรัพยากรโดยครูผู้สอน
7.1 ความคิดเห็นของครูผู้สอน ด้านงบประมาณและทรัพยากร ประเด็นการพิจารณาการวางแผนและจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =4.36, S.D.=0.20) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่ดีและกระตุ้นให้ผู้เรียนใฝ่เรียนรู้ อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ( =5.00, S.D.=0.00) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีอาคารที่เหมาะสม ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้เรียน และ สถานศึกษามีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด พื้นที่สีเขียว และสิ่งอำนวยความสะดวก เพียงพอและอยู่ในสภาพใช้การได้ดี ( =4.00, S.D.=0.00)
7.2 ความคิดเห็นของครูผู้สอน ด้านงบประมาณและทรัพยากร ประเด็นการพิจารณาการจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.68, S.D.=0.42) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างหลากหลายและต่อเนื่อง ( =5.00, S.D.=0.00) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ มีการประเมินแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อการพัฒนา ปรับปรุงที่ดีขึ้น โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ( =4.40, S.D.=0.55)
7.3 ความคิดเห็นของครูผู้สอน ด้านงบประมาณและทรัพยากร ประเด็นการพิจารณางบประมาณในการบริหารจัดการการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เพียงพอและคุ้มค่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.69, S.D.=0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนมีแผนการใช้งบประมาณเพื่อการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม ( =5.00, S.D.=0.00) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ โรงเรียนใช้งบประมาณ สื่อ ทรัพยากรต่างๆ เพื่อการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาอย่างคุ้มค่าและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด ( =4.50, S.D.=0.58)
8. ผลการประเมินด้านงบประมาณและทรัพยากรโดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน
8.1 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ด้านงบประมาณและทรัพยากร ประเด็นการพิจารณาการวางแผนและจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.64, S.D.=0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนใช้สื่อ ทรัพยากรต่างๆ อย่างคุ้มค่าและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด ( =5.00, S.D.=0.00) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ มีการให้บริการ สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทุกรูปแบบที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ( =4.40, S.D.=0.55)
8.2 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ด้านงบประมาณและทรัพยากร ประเด็นการพิจารณาการจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.72, S.D.=0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างหลากหลายและต่อเนื่อง ( =5.00, S.D.=0.00) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ มีการประเมินแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อการพัฒนา ปรับปรุงที่ดีขึ้น โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ( =4.40, S.D.=0.55)
8.3 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ด้านงบประมาณและทรัพยากร ประเด็นการพิจารณาการจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.64, S.D.=0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนมีแผนการใช้งบประมาณเพื่อการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม ( =5.00, S.D.=0.00) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ โรงเรียนใช้งบประมาณ สื่อ ทรัพยากรต่างๆ เพื่อการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาอย่างคุ้มค่าและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด ( =4.40, S.D.=0.55)