ชื่อเรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนวิชาวัฒนธรรมท้องถิ่นไท-ยวน โดยใช้การเรียนรู้แบบ
โครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดและสรุปความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสรัญญา นาคาเริงฤทธิ์
โรงเรียน สีคิ้ว สวัสดิ์ผดุงวิทยา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่อง โครงงานวัฒนธรรมท้องถิ่นและทักษะการคิดและสรุปความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลัง การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 2) ศึกษาพฤติกรรมความสามารถในการแก้ปัญหาตามขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบ โครงงานนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) ศึกษาความสามารถในการทำ โครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4) ศึกษาความคิดเห็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 /10 โรงเรียนสีคิ้ว สวัสดิ์ผดุงวิทยา ภาคเรียนที 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง โครงงานวัฒนธรรมท้องถิ่น แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ เรื่อง โครงงานวัฒนธรรม แบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถใน การแก้ปัญหาตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน แบบประเมินความสามารถในการทำโครงงาน และ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนทีมีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย (ˉx) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการเรียนรู้ เรื่อง โครงงานวัฒนธรรมท้องถิ่น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียน
(ˉx = 33.59, S.D. = 2.34) สูงกว่าก่อนเรียน (xˉ = 13.52 , S.D. = 2.87) อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. พฤติกรรมความสามารถในการแก้ปัญหาตามขั้น ตอนการจัด การเรียนรู้แบบโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ˉx = 2.32, S.D.= 0.38)
3. ความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวม อยู่ในระดับ สูง (xˉ = 2.68, S.D.= 0.35)
4. ความคิดเห็นของนกั เรียนชนั มธั ยมศึกษาปีที 5 ทีมีต่อการจดั การเรียนรู้แบบโครงงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับ เห็นด้วยมากที่สุด (xˉ = 4.63, S.D. = 0.21)