ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลัง
(empowerment evaluation) โรงเรียนบ้านแก้งวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว
ผู้วิจัย นายคะนอง จันทรา
โรงเรียน โรงเรียนบ้านแก้งวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว
ปี พ.ศ. 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลัง
(empowerment evaluation) โรงเรียนบ้านแก้งวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรทางการศึกษาด้านการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลัง (empowerment evaluation) โรงเรียนบ้านแก้งวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลัง (empowerment evaluation) โรงเรียนบ้านแก้งวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 4) เพื่อหาประสิทธิผลการพัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลัง (empowerment evaluation) โรงเรียนบ้านแก้งวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยระยะที่ 1 คือ ครูผู้สอน จำนวน 51 คน และบุคลากรในโรงเรียนประกอบด้วย พนักงานจ้างภารกิจ จำนวน 5 คน กรรมการสถานศึกษา จำนวน 13 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 69 คน ระยะที่ 2 ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญระดับสูง จำนวน 5 คน ระยะที่ 3 ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 51 คน ตัวแทนนักเรียน (สภานักเรียน) จำนวน 20 คนกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 13 คน ตัวแทนผู้ปกครองของนักเรียน (ผู้ปกครองเครือข่าย) จำนวน 18 คน รวมทั้งสิ้น 102 คน ระยะที่ 4 บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านแก้งวิทยา จำนวน 102 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสอบถาม การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติการบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ สถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบด้วยค่าที ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านแก้งวิทยา พบว่า สภาพระบบดูแล
ช่วยเหลือนักเรียน ที่ดำเนินการต่อเนื่องของโรงเรียนบ้านแก้งวิทยา มีการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล สูงที่สุดและมีการระบุรายละเอียดที่จะประเมินและมิติการประเมินที่ครอบคลุมต่ำที่สุด สภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่ดำเนินการไม่ต่อเนื่องของโรงเรียนบ้านแก้งวิทยา มีการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ไม่ต่อเนื่องในเรื่องมีการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหานักเรียน ผลการศึกษาความต้องการในการพัฒนาตนเองเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า โรงเรียนบ้านแก้งวิทยา มีความต้องการดังนี้ 1) การระบุรายละเอียดที่จะประเมินและมิติการประเมินที่ครอบคลุม 2) การกำหนดภาระงาน/โครงการในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างชัดเจน 3)การกำหนดวิธีการประเมิน 4) การกำหนดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาศักยภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษา 5) การจัดทำระบบบริหารและสารสนเทศของนักเรียนอย่างเป็นระบบ 6) การกำหนดผู้ประเมิน 7) การกำหนดวิธีการประเมิน 8) การบันทึกผลการประเมินอย่างเป็นระบบ 9) มีการจัดเก็บผลการการส่งต่อทั้งภายในและภายนอก 10) การจัดเก็บและนำผลการการดำเนินงานไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 11) การสร้างเครื่องมือและเกณฑ์การให้คะแนน 12) มีการประเมินระหว่างการดำเนินกิจกรรมการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
2. การพัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
มิติของลักษณะ/วิธีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งเป็นกลไกของวงจรคุณภาพมีส่วนประกอบในการดำเนินการที่สัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน ดังนี้ 1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) การคัดกรองนักเรียน 3) การป้องกันและแก้ไขปัญหา 4) การพัฒนาและการส่งเสริมนักเรียน 5) การส่งต่อ
ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความเหมาะสมของโครงสร้างของรูปแบบ 5 องค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และความเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความสอดคล้องกัน เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อย ด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความชัดเจน และความง่ายต่อการนำไปใช้มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันทุกประเด็น
3. การทดลองใช้รูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลัง (empowerment evaluation) โรงเรียนบ้านแก้งวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว
3.1 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบ พบว่าบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน หลังการพัฒนา
สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 เจตคติต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบ พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีค่าเฉลี่ยเจตคติต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ลักษณะระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่ได้ข้อมูลจากบุคลากรภายในสถานศึกษากรรมการสถานศึกษา ตัวแทนผู้ปกครอง และนักเรียน เป็นลักษณะที่จำเป็นต้องดำเนินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามประเด็น 1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) การคัดกรองนักเรียน 3) การป้องกันและแก้ไขปัญหา 4) การพัฒนาและการส่งเสริมนักเรียน 5) การส่งต่อ ซึ่งการขยายผลเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับการดำเนินการและขยายผลตามองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อย
3.4 คุณภาพของกระบวนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า การประเมินคุณภาพของรูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีคุณภาพด้านอรรถประโยชน์ ด้านความเหมาะสม ด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุดและระดับมาก ด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากด้านอรรถประโยชน์ มีความเห็นด้วยในระดับมากที่สุด
3.5 ผลกระทบของการดำเนินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จากการทดลองรูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามรายละเอียดข้างต้นทำให้เกิดผล คือ
1) บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความรู้ มีทักษะในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ตลอดจนมีความมั่นใจในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี มีการกำหนดบุคลากรเป็นคณะทำงานในเรื่องต่าง ๆ อย่างชัดเจน
2) สถานศึกษามีแนวปฏิบัติสำหรับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของปีการศึกษาต่อไปอย่างเป็นระบบ
4. สัมฤทธิผลการพัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครั้งนี้ ได้โครงสร้างและองค์ประกอบของลักษณะ/วิธีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความสัมพันธ์กับมิติอื่น คือ 1) ยุทธวิธีที่ใช้ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน : การประเมินแบบเสริมพลังโครงสร้างของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามแนวคิดประเมินแบบเสริมพลัง เป็นแนวคิดเชิงระบบ เนื่องจากจุดเน้นของการประเมินแบบเสริมพลัง คือ การพัฒนาปรับปรุงโครงการและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในบริบทของการประเมินแบบเสริมพลังจึงมีลักษณะของการพัฒนาบุคลากรในหลายลักษณะ (facets of empowerment evaluation) ได้แก่ การฝึกอบรม (training) การอำนวยความสะดวก (facilitation)การได้รับการสนับสนุน (advocacy) การสร้างความกระจ่าง (illumination) และการมีเสรีภาพในการกำหนดอนาคตของตนเอง (liberation) 2) กระบวนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การจำแนกคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน การป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหานักเรียน โดยมีรายละเอียดการดำเนินงานคือการส่งต่อ 3) ยุทธศาสตร์ที่ใช้ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน : การประเมินแบบเสริมพลังเป็นหลักการที่ใช้แนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังที่เอื้อต่อการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เน้นให้ผู้เกี่ยวข้องในองค์กรเข้ามามีส่วนร่วมเรียนรู้การประเมิน ประเมินตนเอง สะท้อนผลแก่ตนเอง จนในที่สุดสามารถตัดสินใจหรือกำหนดตนเองได้มีขั้นตอน คือการรวบรวมข้อมูล (taking stock) การกำหนดเป้าหมายที่ต้องการบรรลุผล (setting goals) การพัฒนากลยุทธ์เพื่อปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย (developing strategies) ประกอบด้วย
การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน การจัดหาหลักฐานที่แสดงถึงความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน (documenting progress) 4) เป้าหมายหรือผลสำเร็จตามคุณลักษณะหรือเกณฑ์มาตรฐานด้านกระบวนการที่ประเมิน ประกอบด้วยผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามแบบประเมินของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ด้านปัจจัย
ด้านกระบวนการ ด้านคุณภาพนักเรียน ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ ด้านคุณภาพนักเรียน
ผลที่เกิดกับผู้เรียน ประกอบด้วย การประเมินการทดสอบระดับชาติ (O Net) และผลกระทบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นข้อมูลการเปรียบเทียบสรุปคุณภาพนักเรียน (ผลกระทบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) ปีการศึกษา 2559 กับ ปีการศึกษา 2560 ดังนั้นรูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดังกล่าว จึงเป็นรูปแบบที่มีคุณลักษณะของการบริหารจัดการองค์กร ด้วยยุทธวิธีการพัฒนาบุคลากรตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังทั้งในและนอกบริบทองค์กร