ชื่อเรื่อง การพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดหลวงปรีชากูล) สังกัดเทศบาลเมืองปราจีนบุรี ด้วยกระบวนการ ๖ ขั้น
ผู้ศึกษา นางภาริณี ผ่องแผ้ว
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในโรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดหลวงปรีชากูล) สังกัดเทศบาลเมืองปราจีนบุรี ด้วยกระบวนการ 6 ขั้น วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ของครูเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนกกอนการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดหลวงปรีชากูล) สังกัดเทศบาลเมืองปราจีนบุรี ด้วยกระบวนการ ๖ ขั้น 2) เพื่อศึกษาผลการจัดทําแผนการเรียนรูของครูหลังการส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดหลวงปรีชากูล) สังกัดเทศบาลเมืองปราจีนบุรี ด้วยกระบวนการ ๖ ขั้น 3) เพื่อศึกษาผลการจัดทํางานวิจัยในชั้นเรียนของครูหลังการส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดหลวงปรีชากูล) สังกัดเทศบาลเมืองปราจีนบุรี ด้วยกระบวนการ ๖ ขั้น 4) เพื่อศึกษาความก้าวหน้าด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมของ ผู้เรียนหลังการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดหลวงปรีชากูล) สังกัดเทศบาลเมืองปราจีนบุรี ด้วยกระบวนการ ๖ ขั้น และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูต่อการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดหลวงปรีชากูล) สังกัดเทศบาลเมืองปราจีนบุรี ด้วยกระบวนการ ๖ ขั้น ขอบเขตของเนื้อหาการวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาผลของการส่งเสริมครูด้านการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนดวยกระบวนการ 6 ขั้นที่ผู้วิจัยนํามาปฏิบัติได้แก่ ขั้นที่ 1 สร้างความตระหนัก ขั้นที่ 2 กําหนดแนวทางการส่งเสริมครูด้านการพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน ขั้นที่ 3 ส่งเสริมครูให้มีความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยในชั้นเรียน ขั้นที่ 4 จัดครูพี่เลี้ยง/ที่ปรึกษาการพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน ขั้นที่ 5 สนับสนุนให้ความช่วยเหลือและนิเทศติดตามอย่างสม่ำเสมอ ขั้นที่ 6 สงเสริมครูให้ประสบความสําเร็จในวิชาชีพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครู โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดหลวงปรีชากูล) สังกัดเทศบาลเมืองปราจีนบุรี ที่ปฏิบัติหน้าที่สอนใน ตำแหน่ง ครู ปีการศึกษา 2559 จํานวน 18 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1. แบบประเมินตนเองด้านความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน 2. แบบประเมินตนเอง
ด้านความพึงพอใจต่อการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน 3. แบบประเมินคุณภาพการจัดทําแผนการเรียนรู้ 4. แบบประเมินคุณภาพด้านกระบวนการจัดทําผลงานวิจัยในชั้นเรียนมี 3 ชุดคือ ชุดที่ 1 ประเมินกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา และกําหนดชื่อเรื่องการวิจัยโดยผูทรงคุณวุฒิภายในสถานศึกษา จํานวน 3 ท่าน ชุดที่ 2 กลุ่มเป้าหมายประเมินตนเองด้านกระบวนการจัดทําเครื่องมือและขั้นทดลองใช้ ชุดที่ 3 กลุ่มเป้าหมายประเมินตนเองด้าน กระบวนการการจัดทําเอกสารผลงานวิจัยในชั้นเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติพื้นฐานใช้ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย (X) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)และการทดสอบค่าที (t – test)
ผลการวิจัย
1. ครูมีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียนหลังการส่งเสริมครูด้านการพัฒนาการ
วิจัยในชั้นเรียนด้วย กระบวนการ 6 ขั้นสูงกว่าก่อนการส่งเสริมด้านการพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน
2. การจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้ของครูหลังการส่งเสริมครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน ด้วย
กระบวนการ 6 ขั้นมีคุณภาพอยู่ในระดับดี
3. การจัดทําผลงานวิจัยในชั้นเรียนของครูหลังการส่งเสริมครูด้านการพัฒนาการวิจัยใน
ชั้นเรียนด้วยกระบวนการ 6 ขั้นมีคุณภาพอยู่ในระดับดี
4. ผู้เรียนมีการส่งเสริมในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมด้านต่างๆในทางที่ดีขึ้น
5. ครูมีความพึงพอใจต่่อการวิจัยในชั้นเรียนหลังการส่งเสริมครูด้านการพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน ด้วยกระบวนการ 6 ขั้นสูงกว่าก่อนการส่งเสริมด้านการพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน