ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดการสอน นาฏศิลป์พื้นเมือง โดยยึดหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ระบำทุเรียนกวน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4
ผู้ศึกษา นางพัฑฒิตา นันตา
ที่ทำงาน โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด (กวีธรรมสาร) อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดการสอน นาฏศิลป์พื้นเมืองโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ระบำทุเรียนกวน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพ / เท่ากับ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยชุดการสอน นาฏศิลป์พื้นเมือง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ระบำทุเรียนกวน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดการสอน นาฏศิลป์พื้นเมือง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ระบำทุเรียนกวน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยชุดการสอน นาฏศิลป์พื้นเมือง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ระบำทุเรียนกวน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 6 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบำทุเรียนกวน สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 18 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบำทุเรียนกวน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบปรนัย เลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดการสอน นาฏศิลป์พื้นเมือง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ระบำทุเรียนกวน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
สรุปผลการศึกษา
1. ชุดการสอน นาฏศิลป์พื้นเมือง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ระบำทุเรียนกวน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.55/86.03 และค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.68 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน พบว่า
มีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเท่ากับ 12.81 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนน
เท่ากับ 26.54 และผลการเปรียบเทียบความแตกต่างกันระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการทดสอบค่าที (t-test) เท่ากับ 43.29 แสดงว่าคะแนนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการสอน นาฏศิลป์พื้นเมือง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ระบำทุเรียนกวน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยการใช้ชุดการสอน นาฏศิลป์พื้นเมือง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ระบำทุเรียนกวน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(นาฏศิลป์) ในระดับความพึงพอใจมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.51