ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนของจำนวนนับไม่เกิน 1,000
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางกฤษณา มังจันทึก
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล 2 วิภัชศึกษา
เทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนของจำนวนนับไม่เกิน 1,000 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการสำหรับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนของจำนวนนับไม่เกิน 1,000 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนของจำนวนนับไม่เกิน 1,000 3) ทดลองใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนของจำนวนนับไม่เกิน 1,000 และ 4) ประเมินและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนของจำนวนนับไม่เกิน 1,000 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล 2 วิภัชศึกษา เทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการ แบบสัมภาษณ์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถาม ความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ร้อยละ (%) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t test) แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนของจำนวนนับไม่เกิน 1,000 มีความสอดคล้องกับความต้องการของการจัดการศึกษาตามแนวคิด ทฤษฎี พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และความต้องการของผู้เชี่ยวชาญและครูผู้สอนคณิตศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน และช่วยพัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนของจำนวนนับไม่เกิน 1,000 มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) แบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ 72.36/72.50 แบบกลุ่มย่อย (Small Group Tryout) เท่ากับ 77.64/78.06 และแบบกลุ่มใหญ่ (Field Tryout) เท่ากับ 80.58/81.25 ซึ่งมีค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
3. ผลการทดลองใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนของจำนวนนับไม่เกิน 1,000 พบว่า ได้ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.18/82.19 ซึ่งมีค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
4. ผลการประเมินและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนของจำนวนนับไม่เกิน 1,000 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผล การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนโดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด