ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนา
การคิดวิเคราะห์ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนหนองไผ่วิทยานุสรณ์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ผู้วิจัย นางกุลพัชร มูลทองหลาง
ปีที่วิจัย 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทกรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ 3) ศึกษาผลการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ และ4) ศึกษาความคิดเห็นต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้ 1) การศึกษากรอบแนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ 2) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ 3) การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ 4) การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 12 คน โรงเรียนหนองไผ่วิทยานุสรณ์ กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 19สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ ทดสอบ t-test Dependent
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ มีองค์ประกอบสำคัญ 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของรูปแบบ 2) จุดประสงค์ของรูปแบบ 3) กลวิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การเตรียมความความพร้อม ประกอบด้วย 6 กิจกรรม คือ การปฐมนิเทศ การจัดกลุ่มและเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มการประเมินผลก่อนเรียน การศึกษาสาระการเรียนรู้การกำหนดหัวข้อโครงงานและ การเขียนแผนปฏิบัติการ (2) การลงมือปฏิบัติโครงงาน ประกอบด้วย 6 กิจกรรมคือการเก็บรวบรวมข้อมูล การเชื่อมโยงโครงสร้างความรู้การสร้างชิ้นงานการนำเสนอชิ้นงานและการไตร่ตรอง (3) การประเมินผล ประกอบด้วย 1 กิจกรรม คือ การประเมินโครงงาน 4) การวัดและประเมินผลและ 5) ข้อมูลป้อนกลับ
2. การคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาขึ้นมีคะแนนการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ และรูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นสามารถทำให้ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้
3. ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด