ชื่อเรื่อง การวิจัยและพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์การศึกษาเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา
รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางสาวอารีย์ ศรีนรา
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยและการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์การศึกษาเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา
รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์การศึกษาเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์การศึกษาเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 1 สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้เกมคอมพิวเตอร์การศึกษาเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 1 สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมคอมพิวเตอร์การศึกษาเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน โรงเรียนสะแกราชธวัชศึกษา อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งโรงเรียนได้จัดห้องเรียนแบบคละความสามารถของนักเรียน คือ เก่ง ปานกลาง อ่อน ให้อยู่ในห้องเรียนเดียวกัน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย
เกมคอมพิวเตอร์การศึกษาเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งมีจำนวน 9 เรื่องย่อย 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนใช้ทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ
3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหาใช้ทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน เป็นแบบอัตนัย จำนวน
5 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยเกมคอมพิวเตอร์การศึกษาเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) ตามวิธีของลิเครอท์ (Likert) มี 20 ข้อ เครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญและปรับปรุงแก้ไข เพื่อใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจริงจากกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x ̅) ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการทดสอบค่า (t test)
สรุปผลการวิจัย
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับเป็นแนวทางสำหรับการสร้างและพัฒนาการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์การศึกษาเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 1 สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คือ การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเอง จากสถานการณ์ที่หลากหลายและใกล้เคียงกับสถานการณ์ในชีวิตจริง เกมคอมพิวเตอร์การศึกษาที่ใช้ควรมีความน่าสนใจ มีขั้นตอนการเล่นที่ไม่ซับซ้อนเกินระดับความสามารถของผู้เรียน เนื้อหาการเรียนรู้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ใช้เวลาในการเรียนรู้ให้พอเหมาะ ผู้สอนต้องมีความรู้ ความเข้าใจ
ในการสร้างและขั้นตอนการใช้เกมคอมพิวเตอร์การศึกษาเป็นอย่างดี และสามารถดำเนินการอภิปรายให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ พร้อมทั้งการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
โดยใช้เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน
2. เกมคอมพิวเตอร์การศึกษาเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.22/81.08
เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
3. ทดลองใช้เกมคอมพิวเตอร์การศึกษาเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา รายวิชา
เทคโนโลยีสารสนเทศ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เกมคอมพิวเตอร์การศึกษาเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 ผลคะแนนการทดสอบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เกม
คอมพิวเตอร์การศึกษาเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 1
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมคอมพิวเตอร์การศึกษาเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 1
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด