บทคัดย่อ
เรื่อง การพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางปิยะพร มาเพ้า
ปีที่วิจัย 2560
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นการวิจัยและพัฒนา หรือ Research and Development หรือ R and D มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับออกแบบการเรียนการสอนด้วยห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) สร้างและหาประสิทธิภาพของห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) ศึกษาผลการทดลองใช้ห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 4) ประเมินผลห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/8 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 32 คน ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสมผสาน (Mixed method) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) และข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data) ซึ่งสามารถสังเคราะห์ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ตัวแปรต้น (Independent Variable) คือ ห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 2) ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งผู้วิจัยได้แบ่งการดำเนินงานการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ขั้นตอนที่ 2 สร้างและหาประสิทธิภาพ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการทดลอง ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ โปรแกรมกราฟิก Paint 3D 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom 5) แบบประเมินคุณภาพห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 การวิเคราะห์ผลคะแนนที่ได้จากการกิจกรรมระหว่างเรียนแต่ละหน่วย แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ โดยนำมาหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสูตร t test (Dependent Sample และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องของเอกสารผลการประชุม สัมภาษณ์และการตอบแบบสอบถามความคิดเห็นได้ข้อสรุปว่า ผู้ตอบแบบสอบถามและสัมภาษณ์ส่วนใหญ่ต้องการให้มีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชา คอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เนื้อหาหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง โปรแกรมกราฟิก Paint 3D ร่วมกันการทำกิจกรรมด้วยการจัดกิจกรรมด้วยกระบวนกลุ่มคือ วิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด มาใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เนื่องจากมีความเหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาคอมพิวเตอร์ และบูรณาการการจัดกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ให้แก่ผู้เรียน ได้แก่ คิดคล่องแคล่ว คิดยืดหยุ่น คิดละเอียดลออและคิดริเริ่ม ร่วมกับการใช้ห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 ด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีในการเรียนรู้มีเนื้อหาประกอบด้วย หน่วยที่ 1 พื้นฐานโปรแกรมกราฟิก Paint 3D หน่วยที่ 2 เครื่องมือวาดภาพคำสั่ง Brushes หน่วยที่ 3 เครื่องมือวาดภาพ คำสั่ง 2D shapes และการตกแต่งภาพวาด หน่วยที่ 4 เครื่องมือวาดภาพ คำสั่ง 3D shapesและการตกแต่งภาพวาด ระยะเวลาที่ใช้จำนวน 17 ชั่วโมง
2. ผลการสร้างห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มี 8 องค์ประกอบคือ 1) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 2) ผู้เรียน 3) ผู้สอน 4) ปฏิสัมพันธ์และการสื่อสาร 5) เนื้อหา หน่วยการเรียนรู้เรื่อง โปรแกรมกราฟิก Paint 3D 6) กลยุทธ์การเรียนการสอน การเรียนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด 7) สื่อเทคโนโลยี ประกอบด้วย สื่อวัสดุ สื่ออุปกรณ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 8) การวัดและประเมินผล ประเมินผลก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียน
ผลการหาประสิทธิภาพของห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการนำแผนการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้ห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ไปทดลอง (Try out) กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างเพื่อหาประสิทธิภาพแล้ว เสนอผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน พิจารณา พบว่าผู้เชี่ยวชาญร้อยละ 80 เห็นสมควรว่าสามารถนำไปทดลองใช้จัดการเรียนการสอนได้
3. ผลการทดลองใช้ห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
3.1 ประสิทธิภาพของห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่อนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.86/ 81.88 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3.2 ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3.3 ผลการเปรียบเทียบคะแนนความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า คะแนน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
4. ผลประเมินผลการใช้ห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
4.1 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมาก เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
4.2 ผลการประเมินห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน มีความเห็นว่าคุณภาพของห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ร่วมกับวิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รายวิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก
4.3 ผู้เรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดีมาก ผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษาตั้งเป้าหมายไว้ และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2558