เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการปฏิบัติงานเกษตร
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3
ผู้วิจัย นายรัชตะวงศ์ คนมั่น
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการปฏิบัติงานเกษตร กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมทักษะทางการเรียนรู้เกษตร 2) เพื่อสร้างและหาคุณภาพรูปแบบการสอนรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมทักษะทางการเรียนรู้เกษตรที่มีประสิทธิภาพ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมทักษะทางการเรียนรู้เกษตร 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการปฏิบัติงานเกษตร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนรู้ตามรูปแบบ LDAPSE Model ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ การบรรยาย (Lecture) การสาธิต (Demonstration) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Activities Learning) การฝึกทักษะ (Practice) สรุป (Summary) การประเมินผล(Evaluation) และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการคิดวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ จำนวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมการคำนวณสำเร็จรูปและการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และค่าประสิทธิภาพ
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการทดสอบทักษะทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 185 คน พบว่า นักเรียนร้อยละ 54.59 มีทักษะในการเรียนรู้อยู่ในระดับต่ำ ปัญหาที่สำคัญที่ทำให้นักเรียนขาดความสามารถด้านทักษะการเรียนรู้นั้น มาจากการจัดการเรียนการสอนของครูที่ไม่เอื้อต่อการฝึกคิด ฝึกปฏิบัติ โดยสภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอนของครูนั้นไม่เอื้อต่อการส่งเสริมทักษะ
ในการเรียนรู้ของนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และครูมีความต้องการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะในการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน คือ การแก้ไขที่กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู
2. ผลการสร้างและพัฒนาคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตามรูปแบบ LDAPSE Model ผลการสอบถามความเหมาะสมขององค์ประกอบของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
( = 4.40, S.D. = 0.53) และรูปแบบการสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.62 /81.84
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบ LDAPSE Model พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน ( = 14.89) และหลังเรียน ( = 40.91) และนักเรียนมีทักษะในการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน ( = 10.97) และหลังเรียน ( = 25. 28)
4. การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ LDAPSE Model พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.93, S.D. = 0.64) และผลการประเมินและรับรองรูปแบบการสอนจากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการสอน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.47, S.D. = 0.21)