ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD
ประกอบชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้ศึกษา โสภา บุญศักดิ์
สังกัด โรงเรียนสายธารวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เฉพาะดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาสำรวจข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนรายวิชาฟิสิกส์พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน คือ 1)รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษา โรงเรียนสายธารวิทยา ปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสายธารวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 15 คน แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 5 คน 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 12 คน 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสายธารวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน และแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสายธารวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสัมภาษณ์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เกี่ยวกับการเรียนรายวิชาฟิสิกส์ 2) แบบสังเกตและประเมินพฤติกรรมนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในการเรียนวิชาฟิสิกส์พื้นฐาน 3)ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การสำรวจข้อมูลพื้นฐานเพื่อศึกษาสำรวจข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นักเรียนมีปัญหาด้านการเรียนการสอน คือ เด็กขาดความสนใจในการเรียน โดยมีสาเหตุมาจากเนื้อหาของรายวิชาวิทยาศาสตร์มีลักษณะเป็นนามธรรมยากต่อการทำความเข้าใจ อีกทั้งยังขาดสื่อการเรียน การสอนส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
2. การสร้างและการหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ได้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 8 ชุด และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 8 แผน ซึ่งรูปแบบนี้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.91/83.19
3. การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุด
ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
พบว่า
3.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรม
ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7156 หรือ ร้อยละ 71.56
3.2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับร้อยละ 40.88 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับร้อยละ 83.19 คะแนนความก้าวหน้า เท่ากับร้อยละ 42.31 แสดงว่านักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความก้าวหน้าทางการเรียน
3.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด