เรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนการเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสาวยุวนันท์ จันทร์คง
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๑ (ทีโอเอวิทยา) เทศบาลเมืองนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาการสอนการเขียนเชิงสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอน
การเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนการเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ทีโอเอวิทยา) เทศบาลเมืองนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการสอนการเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 30 ข้อ เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ซึ่งมีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.37 ถึง 0.72 และค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.77 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 และแบบวัดความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 19 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. รูปแบบการสอนการเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 มี 6 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1) หลักการแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน องค์ประกอบที่ 2) วัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 3) ขั้นตอนการสอน (Syntax) มี 4 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมกระบวนการคิด (Prepare) ขั้นที่ 2 ขั้นสร้างประสบการณ์ความรู้ (Knowledge Experience) ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างสรรค์งานเขียน (Creative writing) และขั้นที่ 4 ขั้นนำเสนอและชื่นชมผลงาน (Presentation and appreciation) องค์ประกอบที่ 4) ระบบสังคม องค์ประกอบที่ 5) หลักการตอบสนอง องค์ประกอบที่ 6) ระบบสนับสนุน
2. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน พบว่ารูปแบบการสอน
การเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเท่ากับ 4.52
3. ผลการใช้รูปแบบการสอนการเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
3.1 ผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนการเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน พบว่า ประสิทธิภาพโดยรวมรูปแบบการสอนการเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (E1/E2) มีค่าเท่ากับ 80.81/80.78
3.2 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยรูปแบบการสอนการเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.40 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.97 และค่า t-test เท่ากับ 38.864 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนการเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61)