ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์โดยการจัดกิจกรรม
จากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้รายงาน นางประสาทพร มุ่งคู่กลาง
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 4 (อมร สะเพียรชัย อุทิศ)
สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าเรื่อง การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์โดยการจัดกิจกรรมจาก
แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ชั้นอนุบาลปีที่ 3 นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์โดยการจัดกิจกรรมจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ด้วยแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้การจัดกิจกรรมจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน และ 3) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์ด้วยแผนการจัดประสบการณ์โดยการจัดกิจกรรมจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยที่กำลังเรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาล 4 (อมร สะเพียรชัย อุทิศ) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี 3 ชนิด คือ 1) แผนการจัดประสบการณ์โดยการจัดกิจกรรมจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรม ระหว่างการจัดประสบการณ์ แบบแผนทดลองในครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) วิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานคือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยการจัดกิจกรรมจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนโดยใช้ค่าสถิติ t–test (Dependent Samples) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และหาค่าดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีของกูดแมน เฟลทเชอร์ และชไนเดอร์
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า 1) แผนการจัดประสบการณ์โดยการจัดกิจกรรมจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3
ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.21/88.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) ผล
การเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดประสบการณ์ด้วยแผนการจัดประสบการณ์โดยการจัดกิจกรรมจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์แผนการจัดประสบการณ์โดยการจัดกิจกรรมจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์โดยการจัดกิจกรรมจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีค่าเท่ากับ 0.7951 แสดงว่าเด็กปฐมวัยมีประสบการณ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.51