ชื่อเรื่อง ชุดสื่อภาพส่งเสริมระบบการสื่อความหมายของคำนามและคำกริยาที่ใช้ ในชีวิตประจำวันของนักเรียนออทิสติก ห้องเรียนขอบฟ้ากว้าง โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง
ผู้วิจัย นางสุมลทา หลอดสว่าง
ปีที่พิมพ์ พ.ศ.2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการสื่อความหมายของคำนามและคำกริยาในชีวิตประจำวันของนักเรียนออทิสติก โดยใช้ชุดสื่อภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการสื่อความหมายของคำนามและคำกริยาที่ใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียน ออทิสติก ก่อนและหลังการใช้ชุดสื่อภาพ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research: PAR) ที่มีรูปแบบเน้นการเป็นศาสตร์เชิงวิพากษ์ (critical science) นำเสนอผลการวิจัยอิงกับแนวคิดเชิงวิพากษ์ (critical approach) แสดงหลักฐานประกอบ ทั้งข้อมูล สถิติ ภาพถ่าย เอกสาร หรือรวมถึงสิ่งอื่นๆ ที่ได้ร่วมกันคิดร่วมกันปฏิบัติ ร่วมกันสังเกตผล และร่วมกันสะท้อนผล ทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จและการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการใช้ชุดสื่อภาพส่งเสริมระบบการสื่อความหมายของคำนามและคำกริยาที่ใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนออทิสติก ห้องเรียนขอบฟ้ากว้าง โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง โดยดำเนินการ ดังนี้
1. ดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมสองวงจร วงจรละ 1 เดือน โดยมีขั้นตอน
การวิจัย 10 ขั้นตอน ยึดถือหลักการ 10 ประการ จรรยาบรรณ 10 ประการ และบทบาทของนักวิจัย 10 ประการ โดยเฉพาะจรรยาบรรณเกี่ยวกับการแสดงให้ทราบถึงธรรมชาติของกระบวนการวิจัยแต่เริ่มแรก รวมทั้งข้อเสนอแนะ และผลประโยชน์ให้แก่ผู้ร่วมวิจัยทราบ และจรรยาบรรณผู้ร่วมการวิจัยต่างมีอิทธิพลต่อการทำงาน แต่ผู้ที่ไม่ประสงค์มีส่วนร่วมต้องได้รับการยอมรับและเคารพในสิทธิส่วนบุคคล เพราะเป็นจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคล
2. ยึดถือรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่เน้นความเป็นศาสตร์เชิงวิพากษ์
การนำเสนอผลการวิจัยอิงกับแนวคิดเชิงวิพากษ์ แสดงหลักฐานประกอบ ทั้งข้อมูล สถิติ ภาพถ่ายเอกสาร หรืออื่นๆ ถึงสิ่งที่ได้ร่วมกันคิด ร่วมกันปฏิบัติ ร่วมกันสังเกตผล และร่วมกันสะท้อนผล
การเปลี่ยนแปลง ทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ และผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับนักเรียนออทิสติก
3. ให้ความสำคัญกับกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี ที่จะต้องทบทวนขึ้นมาอย่างมีจุดมุ่งหมาย อย่างมีความหมาย และอย่างมีประโยชน์ที่จะทำให้ผู้วิจัยมีความไวเชิงทฤษฎีต่อการนำไปใช้อธิบายปรากฏการณ์หรือการให้คำแนะนำต่อผู้ร่วมวิจัย ในลักษณะที่ไม่ใช่เป็นการยัดเยียด ไม่ให้เป็นตัวชี้นำหรือไม่ให้มีอิทธิพลต่อการนำไปปฏิบัติของผู้ร่วมวิจัย แต่จะต้องคำนึงถึงการเป็นทางเลือก การเป็นตัวเสริม
4. การสร้างทัศนคติที่ดีให้เกิดขึ้นกับผู้ร่วมวิจัยและผู้เกี่ยวข้องว่า ทฤษฎีกับการปฏิบัติเป็นสิ่งที่ไปด้วยกันได้ ไม่ได้เป็นเส้นขนานที่ไม่มีวันบรรจบกัน สร้างกรอบแนวคิดให้ผู้ร่วมวิจัยและผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจและตระหนักถึงความสัมพันธ์เชิงบวกในลักษณะสามเส้าระหว่าง การวิจัยทฤษฎี และ
การปฏิบัติ หรือ นักวิจัย นักทฤษฎี และ นักปฏิบัติ
5. ผู้วิจัยเน้นบทบาทการเป็นผู้มีส่วนร่วมและเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้มีการปฏิบัติตามแผนเชิงปฏิบัติการที่กำหนดไว้ โดยมุ่งให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดตามหลักการ มุ่งการเปลี่ยนแปลง และมุ่งให้เกิดการกระทำเพื่อบรรลุผล พยายามไม่ให้ความช่วยเหลือใดๆ ที่ได้อย่างง่ายๆ หรือสำเร็จรูปเกินไป
6. ให้มีการบันทึกผลการดำเนินงานทั้งของผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย โดยคำนึงถึงหลักการบันทึก คือ 1) การเปลี่ยนแปลงในกิจกรรมและการปฏิบัติ 2) การเปลี่ยนแปลงในคำอธิบายถึงสิ่งที่ปฏิบัติ และ3) การเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ทางสังคมและรูปแบบองค์การ
4) การพัฒนาตนเองจากการร่วมในการวิจัย และจัดให้มีการพบปะสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นระยะๆ ตามหลักการรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้ร่วมวิจัยทุกคน การวิเคราะห์วิพากษ์และประเมินตนเอง ตลอดจนเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบการ กำหนดหัวข้อเกี่ยวกับการดำเนินการวิจัย การระบุเหตุผลที่ผลการวิจัยมีความสำคัญ การกำหนดตัวบุคคลที่ ผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์ บุคคลที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากนักวิจัย การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และขยายผลการวิจัย โดยกล่าวถึงวิธีดำเนินการวิจัยในหัวข้อต่างๆ ตามลำดับวิธีดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย สถานที่หรือพื้นที่ที่ดำเนินการวิจัย ผู้ร่วมวิจัยและบทบาทของผู้ร่วมวิจัย ขั้นตอนการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการเขียนรายงานผลการวิจัย
ผลการวิจัย พบว่า
1. นักเรียนออทิสติกมีความสามารถด้านการสื่อความหมายของคำนามและคำกริยาที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อได้รับการพัฒนาจากการใช้ชุดสื่อภาพส่งเสริมระบบการสื่อความหมายของคำนามและคำกริยาที่ใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนออทิสติก โดยความช่วยเหลือของครูผู้สอน ผู้ปกครอง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน ซึ่งทุกคนมีความสัมพันธ์และมิตรภาพที่ดีในการทำงานร่วมกัน
2. ความสามารถในการสื่อความหมายของคำนามและคำกริยาในชีวิตประจำวันของ
นักเรียนออทิสติก เมื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน