ชื่อเรื่อง รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน
โรงเรียนเนินสง่าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ผู้วิจัย นางจีรพันธ์ โมสิกะ
โรงเรียน โรงเรียนเนินสง่าวิทยา
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ และแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการทำวิจัย ในชั้นเรียน โรงเรียนเนินสง่าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเนินสง่าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเนินสง่าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ (4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเนินสง่าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ใน
การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน
โรงเรียนเนินสง่าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ ครูจำนวน 32 คน จำแนกเป็น ครูผู้นิเทศจำนวน 8 คน ครูผู้รับการนิเทศจำนวน 24 คน ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบสังเกตและประเด็นสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการปัญหาของการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเนินสง่าวิทยาที่ได้แก่ ครูขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดทักษะในการทำวิจัยในชั้นเรียน ไม่สามารถวิเคราะห์ปัญหาและนำปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนมาแก้ไขได้อย่างเป็นระบบ และไม่สามารถนำสิ่งที่ปฏิบัติอยู่มาเขียนเป็นรายงานการวิจัยได้ และสอบถามระดับปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และระดับความต้องการการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเนินสง่าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิที่สร้างขึ้น ชื่อว่า SPIDER Model โดยมีองค์ประกอบที่ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการนิเทศภายใน และเงื่อนไขการนำรูปแบบการนิเทศภายในไปใช้ โดยมีกระบวนการในการนิเทศ 6 ขั้นตอน คือ ขั้นการสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการ ขั้นการวางแผนการนิเทศ ขั้นการให้ความรู้ก่อนการนิเทศ ขั้นการดำเนินงาน ขั้นการประเมินผลการนิเทศ และขั้นการสะท้อนผลการนิเทศ ผลการประเมินความเหมาะสมรูปแบบการนิเทศภายในโดยผู้เชี่ยวชาญโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเนินสง่าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ พบว่า (1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศภายในของครูผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศหลังการนิเทศสูงกว่าก่อนการนิเทศ (2) ความสามารถในการนิเทศภายในของครูผู้นิเทศโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศ หลังการนิเทศสูงกว่าก่อนการนิเทศ (4) ทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้รับการนิเทศโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
(5) จิตวิจัยของครูผู้รับการนิเทศโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (6) งานวิจัยในชั้นเรียนที่ผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีและ (7) ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเนินสง่าวิทยา สังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดชัยภูมิโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเนินสง่าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ตามความคิดเห็นของครูผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศพบว่าโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและจากการสนทนากลุ่มร่วมกันของครูผู้นิเทศ และครูผู้รับการนิเทศ หลังจากเสร็จสิ้นการทดลองใช้รูปแบบผู้ร่วมสนทนากลุ่มให้ความคิดเห็นว่า องค์ประกอบของรูปแบบการนิเทศภายในทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสม และสอดคล้องซึ่งกันและกัน เป็นกระบวนการที่มีประโยชน์มาก เป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กันของแต่ละขั้นตอน ทำให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านการพัฒนางาน และองค์ความรู้ ส่วนองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำไปใช้ เป็นองค์ประกอบที่มีความจำเป็นในการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งครูจะต้องทำด้วยความเต็มใจ ร่วมมือกัน มีความรับผิดชอบและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก นอกจากนี้ผู้บริหารต้องตระหนักถึงความสำคัญของการนิเทศ ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ สื่อ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก สร้างขวัญและกำลังใจให้กับครู