รื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community
Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของ
นักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นายนิวัต สุวรรณศรี
โรงเรียน สาหร่ายวิทยาคม
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนา เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ (4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา คือ (1) ข้อมูลพื้นฐานบริบทของโรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา (2) การศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (3) การศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม (4) การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) (5) เอกสาร ตำรา เกี่ยวกับ หลักการ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับทักษะจำเป็นและสำคัญสำหรับผู้เรียนในการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 (6) การสอบถามความต้องการในการเรียนรู้ของนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 และ 4/2 จำนวน 62 คน โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 และ (7) การสัมภาษณ์ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบวิเคราะห์เอกสารข้อมูลพื้นฐาน (2) แบบสอบถามความต้องการในการเรียนรู้ของนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (3) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม ขั้นตอนที่ 2 เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน สำหรับพิจารณาตรวจสอบความเหมาะสม สอดคล้องของเครื่องมือ (2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 และ 4/2 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 44 คน สำหรับใช้ทดลองหาประสิทธิภาพของรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วย การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต วิชาชีววิทยาพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 แผนการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน หน่วย การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 ข้อ (4) แบบประเมินพฤติกรรมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน และ (5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ ขั้นตอนที่ 3 เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) (2) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วย การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต วิชาชีววิทยาพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 แผนการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วย การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต วิชาชีววิทยาพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (4) แบบประเมินพฤติกรรมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน (5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ ขั้นตอนที่ 4 เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) (2) ครูผู้สอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หน่วย การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต วิชาชีววิทยาพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ สถิติดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC), ค่าเฉลี่ย ( ), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D), ค่าความยาก (p), ค่าอำนาจจำแนก (B) ของ เบรนแนน (Brennan), ความเชื่อมั่น ของโลเวท (Lovett), สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (rxy) ตามวิธีของ เพียร์สัน (Pearson), สัมประสิทธิ์แอลฟา (α-Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach), การทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples) และการหาประสิทธิภาพ (E1/E2)
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า จากสภาพบริบทของสถานศึกษา สภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ จุดมุ่งหมายของพระราชบัญญัติการศึกษา นโยบายทางการศึกษา ความมุ่งหมายและความสำคัญของหลักสูตรวิทยาศาสตร์ ในวิชาชีววิทยาพื้นฐาน เป็นสาระการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต มีทักษะการทำงาน สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสอบถามความต้องการในการเรียนรู้ของนักเรียน การสัมภาษณ์ครูผู้สอน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์ พบว่า ควรจะพัฒนารูปแบบการสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ โดยการนำกิจกรรมการสอนกลุ่มสัมพันธ์มาใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนได้ค้นหาและค้นพบคำตอบด้วยตนเอง การค้นหาและค้นพบความจริงใด ๆ จากประสบการณ์ด้วยตนเองนั้นผู้เรียนมักจะจดจำได้ดี นักเรียนชอบการเรียนที่มีการสอดแทรกการทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ชอบทำกิจกรรมการเรียนรู้เนื้อหาชีววิทยาเป็นกลุ่ม ชอบทำกิจกรรมการเรียนร่วมกับเพื่อน โดยให้ทุกคนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่ม โดยให้ครูพยายามส่งเสริมให้เกิดและอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่เข้าใจ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะกระบวนการกลุ่ม สามารถปฏิบัติงานร่วมกันและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการสอน และการประเมินผล โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นนำ ขั้นปฏิบัติกิจกรรม ขั้นวิเคราะห์ประสบการณ์การเรียนรู้ ขั้นประยุกต์ใช้ และขั้นประเมินผล เมื่อนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.86 ซึ่งอยู่ในระดับ มากที่สุด และได้นำไปทดลองหาประสิทธิภาพ โดยทดลองแบบเดี่ยว (1:1) (One to One Testing) มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 72.54/71.67 ทดลองแบบกลุ่มเล็ก (1:10) (Small Group Testing) มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 79.14/78.75 และทดลองภาคสนาม (1:100) (Field Tryout) มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.27/80.81 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน
3.1 ทบทวนประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.73/80.64 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 ผลการประเมินพฤติกรรมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน ที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.87 ซึ่งอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 77.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (ร้อยละ 75 ขึ้นไป)
3.4 ผลการวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D.= 0.90)
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
4.1 ผลการศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการเปรียบเทียบคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน กับคะแนนหลังเรียนไปแล้ว 2 สัปดาห์ พบว่า ไม่แตกต่างกัน แสดงว่านักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้
4.2 ผลการศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 ซึ่งอยู่ในระดับมาก ( = 4.43 . S.D.= 0.58)