เรื่อง ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักร 7 ขั้น (7Es) ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิด
วิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยปรากฏการณ์เกี่ยวกับอากาศในชีวิตประจำวัน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นายนิวัต สุวรรณศรี
โรงเรียน สาหร่ายวิทยาคม อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักร 7 ขั้น (7Es) ที่ส่งเสริมความ สามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยปรากฏการณ์เกี่ยวกับอากาศในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7Es) ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยปรากฏ- การณ์เกี่ยวกับอากาศในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างคะแนนก่อนเรียนกับคะแนนหลังเรียนที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7Es) ที่ส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยปรากฏการณ์เกี่ยวกับอากาศในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1 (3) ศึกษาเปรียบเทียบผลคะแนนการคิดวิเคราะห์ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7Es) ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยปรากฏการณ์เกี่ยวกับอากาศในชีวิต ประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น(7Es) ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยปรากฏการณ์เกี่ยวกับอากาศในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7Es) ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 6 ชุด (2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7Es) ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 6 แผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลาในการทดลอง 18 ชั่วโมง (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ (4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 (5) แบบสอบถามความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7Es) ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) มี 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้และการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยสถิติที (t-test) และการหาประสิทธิภาพ (E1/E2)
สรุปผลการวิจัย
จากการวิจัยสามารถสรุปผล ได้ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7Es) ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยปรากฏการณ์เกี่ยวกับอากาศในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.27 / 80.42 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. ผลการศึกษาเปรียบเทียบคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างคะแนนก่อนเรียนกับคะแนนหลังเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7Es) ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยปรากฏการณ์เกี่ยวกับอากาศในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการศึกษาเปรียบเทียบคะแนนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7Es) ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยปรากฏการณ์เกี่ยวกับอากาศในชีวิต ประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7Es) ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยปรากฏการณ์เกี่ยวกับอากาศในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75 , S.D. = 0.58)
ผลการวิจัยที่ค้นพบ ในครั้งนี้เป็นไปตามสมติฐานที่กำหนดไว้ทุกข้อ ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการเปรียบเทียบคะแนนการคิดวิเคราะห์ รวมถึงความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7Es) นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากขึ้นไป