ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยใช้เทคนิค 5 A ของโรงเรียนรักเมืองไทย ๖ บ้านโตนงาช้าง ปีการศึกษา 2559
ผู้รับผิดชอบ : นายสุชาติ นวลเจริญ
ผู้อำนวยการโรงเรียนรักเมืองไทย ๖ บ้านโตนงาช้าง
ปีพุทธศักราช : 2561
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยใช้เทคนิค 5 A ของโรงเรียนรักเมืองไทย ๖ บ้านโตนงาช้าง ปีการศึกษา 2559 ในครั้งนี้ดำเนินการโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องด้านนโยบาย และความเป็นไปได้ของโครงการ ด้านปัจจัยเบื้องต้น(Input Evaluation) ของโครงการเกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ ความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้ และอาคารสถานที่ และการบริหารจัดการโครงการ ด้านกระบวนการ(Process Evaluation) ของโครงการเกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินโครงการ การดำเนินกิจกรรม การติดตามและประเมินผล และการนำผลมาปรับปรุงพัฒนา และด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ เกี่ยวกับผลสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินโครงการ ได้แก่กิจกรรมโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านด้วยเคนิค 5A และพฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน และ ระดับความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ที่มีต่อผลการดำเนินโครงการ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถามได้มาโดยวิธีสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนทั้งสิ้น 140 คน ประกอบด้วย ครู เลือกเฉพาะครูผู้สอนโรงเรียนรักเมืองไทย ๖ บ้านโตนงาช้าง จำนวน 9 คน นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 65 คน ผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 59 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ไม่ดำรงตำแหน่งครูและผู้บริหาร จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีจำนวนทั้งสิ้น 10 ฉบับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ .8188 - .9126 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS (Package for the Social Sciences) for windows v.10 ผลการประเมินปรากฏ ดังนี้
ผลการประเมินโครงการ
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยใช้เทคนิค 5 A ของโรงเรียน รักเมืองไทย ๖ บ้านโตนงาช้าง ปีการศึกษา 2559 สรุปได้ว่าโดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 4.40, S.D.= .58) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า เพื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับแรก คือ ด้านผลผลิตของโครงการ อยู่ในระดับ มาก ( = 4.44, S.D.= .56) รองลงมา คือ ด้านสภาพแวดล้อม และด้านกระบวนการของโครงการ อยู่ในระดับมาก( = 4.40, S.D.= .59) ( = 4.40, S.D.= .56) ส่วนลำดับสุดท้าย คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้นอยู่ในระดับมาก ( = 4.30, S.D.= .56) ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาประเด็นการประเมิน ทั้ง 4 ด้านรวม 23 ประเด็นพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยใช้เทคนิค
5 A ของโรงเรียนรักเมืองไทย ๖ บ้านโตนงาช้าง ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์ การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกประเด็น อยู่ในระดับมาก ( = 4.40, S.D.= .56) เมื่อพิจารณา รายประเด็น พบว่า อันดับแรก คือ ความต้องการจำเป็นของโครงการ อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.57, S.D.= .56) รองลงมา คือ ความเป็นไปได้ของโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.43, S.D.= .57) ความสอดคล้องด้านนโยบาย อยู่ในระดับมาก ( = 4.31, S.D.= .50) และอันดับสุดท้าย คือ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ อยู่ในระดับมาก ( = 4.26, S.D.= .61) ตามลำดับ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยใช้เทคนิค
5 A ของโรงเรียนรักเมืองไทย ๖ บ้านโตนงาช้าง ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์ การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกประเด็น อยู่ในระดับมาก ( = 4.30, S.D.= .56) เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า อันดับแรก คือ ความพร้อมของบุคลากร อยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S.D.= .53) รองลงมา คือ การบริหารจัดการโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D.= .54) ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้และอาคารสถานที่ อยู่ในระดับมาก ( = 4.32, S.D.= .57) และอันดับสุดท้าย คือ ความเพียงพอของงบประมาณ อยู่ในระดับมาก ( = 4.02, S.D.= .58) ตามลำดับ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดย
ใช้เทคนิค 5 A ของโรงเรียนรักเมืองไทย ๖ บ้านโตนงาช้าง ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์
การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกประเด็น อยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D.= .57) เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า อันดับแรก คือ การวางแผนการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D.= .58) รองลงมา คือ การดำเนินกิจกรรมโครงการ อยู่ในระดับ มาก ( = 4.43, S.D.= .63) การติดตามและประเมินผล อยู่ในระดับมาก ( = 4.25, S.D.= .58) และอันดับสุดท้าย คือ การนำผลมาปรับปรุงพัฒนา อยู่ในระดับมาก ( = 4.20, S.D.= .49) ตามลำดับ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยใช้เทคนิค 5 A ของ
โรงเรียนรักเมืองไทย ๖ บ้านโตนงาช้าง ปีการศึกษา 2559 มีรายละเอียด ดังนี้
4.1 ผลการประเมินกิจกรรมโครงการส่งเสริมรักการอ่าน ด้วยเทคนิค 5 A ของโรงเรียน รักเมืองไทย ๖ บ้านโตนงาช้าง ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกกิจกรรม อยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D.= .58) เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรม พบว่า อันดับแรก คือ กิจกรรมจากพี่สู่น้อง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D.= .51) รองลงมาคือ กิจกรรมวางทุกงานอ่านทุกคน อยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D.= .57) และอันดับสุดท้าย คือ กิจกรรมบูรณาการเนื่องในวันสำคัญ อยู่ในระดับมาก ( = 4.18, S.D.= .63) ตามลำดับ
4.2 ผลการประเมินพฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนรักเมืองไทย ๖ บ้านโตนงาช้าง ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกประเด็น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D.= .53) ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์ การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกประเด็น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D.= .47) เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็น พบว่า อันดับแรก คือนักเรียนให้ความสำคัญกับการอ่านและนักเรียนมีพฤติกรรมการอ่านอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.89, S.D.= .33) รองลงมา คือนักเรียนสนใจการอ่าน และนักเรียนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการอ่าน อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.67, S.D.= .50) และอันดับสุดท้าย คือ นักเรียนอ่านข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับมาก ( =4.22, S.D.= .44) ตามลำดับตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์ การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกประเด็น อยู่ในระดับมาก ( =4.47, S.D.= .58) เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า นักเรียนให้ความสำคัญกับการอ่านอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.68, S.D.= .53) รองลงมา คือนักเรียนมีพฤติกรรมการอ่าน อย่างต่อเนื่องอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.62, S.D.= .52) และอันดับสุดท้าย คือ นักเรียนอ่านข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับมาก ( =4.20, S.D.= .64) ตามลำดับ
4.3 ระดับความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยใช้เทคนิค 5 A ของโรงเรียนรักเมืองไทย ๖ บ้านโตนงาช้าง ปีการศึกษา 2559 พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.47, S.D.= .56) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด ดังนี้
4.3.1 ระดับความพึงพอใจของครู ที่มีต่อ การดำเนินงานโครงการส่งเสริมนิสัย รักการอ่านโดยใช้เทคนิค 5 A ของโรงเรียนรักเมืองไทย ๖ บ้านโตนงาช้าง ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( =4.44, S.D.= .54) เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็น พบว่า อันดับแรก คือ กิจกรรมตรงกับความต้องการ นักเรียนรักและสนใจการอ่านการเขียนมากขึ้น และผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญและสนับสนุนโครงการอย่างเต็มที่ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.67, S.D.= .50) รองลงมา คือ การกำหนดนโยบายส่งเสริมการอ่านชัดเจน ปริมาณของกิจกรรมโครงการเหมาะสมไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป กิจกรรมในโครงการทุกกิจกรรมน่าสนใจ การจัดบรรยากาศของโรงเรียนที่เอื้อต่อการสร้างนิสัยรักการอ่านของทุกคนในโรงเรียน และประโยชน์ ที่ได้รับจากโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.56, S.D.= .53) และอันดับสุดท้าย คือ การมีส่วนร่วมของหน่วยงานอื่น ๆ อยู่ในระดับมาก ( =3.89, S.D.= .78) ตามลำดับ
4.3.2 ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมนิสัย รักการอ่านโดยใช้เทคนิค 5 A ของโรงเรียนรักเมืองไทย ๖ บ้านโตนงาช้าง ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.53, S.D.= .53) เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็น พบว่า อันดับแรก คือ
4.3.3 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยใช้เทคนิค 5 A ของโรงเรียนรักเมืองไทย ๖ บ้านโตนงาช้าง ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54, S.D.= .58) เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็น พบว่า อันดับแรก คือ การดูแลเอาใจใส่ของครูมีส่วนในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน และการจัดกิจกรรมต่าง ๆโดยภาพรวมของโครงการนี้สามารถพัฒนาให้นักเรียนรักการอ่านมากขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D.= .49) รองลงมาคือ นักเรียนใช้เวลาในการอ่านมากขึ้น นักเรียนให้ความสำคัญกับการอ่าน พอใจในผลงานของนักเรียนที่เกิดจากกิจกรรมโครงการ และผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญและสนับสนุนโครงการอย่างเต็มที่ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D.= .51) และอันดับสุดท้าย คือ โรงเรียนสนับสนุน/ชี้แนะให้พ่อแม่ผู้ปกครองจัดมุมหนังสือ ไว้ที่บ้าน และโรงเรียนสนับสนุน/ชี้แนะให้พ่อแม่ผู้ปกครองพานักเรียนไปร้านหนังสือ อยู่ในระดับมาก ( =4.27, S.D.= .76) ตามลำดับ
4.3.4 ระดับความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อ การดำเนินงานของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยใช้เทคนิค 5 A ของโรงเรียนรักเมืองไทย ๖ บ้านโตนงาช้าง ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( =4.36, S.D.= .57) เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็น พบว่า อันดับแรก คือ ผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญและสนับสนุนโครงการอย่างเต็มที่ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D.= .49) รองลงมาคือ การกำหนดนโยบายส่งเสริมการอ่านชัดเจนและเป็นนโยบายที่ทำอย่างต่อเนื่อง ปริมาณของกิจกรรมโครงการเหมาะสมไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป กิจกรรมในโครงการทุกกิจกรรมน่าสนใจ มีการประชาสัมพันธ์โครงการอย่างหลากหลายวิธีและต่อเนื่อง นักเรียนได้พัฒนาการอ่านจากกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ การจัดบรรยากาศของโรงเรียนที่เอื้อต่อการสร้างนิสัยรักการอ่านของทุกคนในโรงเรียนและประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการนี้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D.= .51) และอันดับสุดท้าย คือ โรงเรียนสนับสนุน/ชี้แนะให้พ่อแม่ผู้ปกครองจัดมุมหนังสือไว้ในบ้าน อยู่ในระดับมาก ( =3.71, S.D.= .76) ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ด้านสภาพแวดล้อมในการดำเนินโครงการ โรงเรียนควรมีคณะกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยเฉพาะ และควรแต่งตั้งจากผู้ปกครองนักเรียนทุกชั้นเรียน ร่วมกำหนดเป้าหมาย ตลอดจนการจัดกิจกรรมที่สอดรับกับนโยบายของโรงเรียน พร้อมทั้ง เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูล การดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง
1.2 ด้านปัจจัยเบื้องต้นในการดำเนินโครงการ ในด้านความเพียงพอของงบประมาณ ควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ตลอดจนจัดหาสื่อหนังสือ ที่ใหม่ น่าสนใจ ดึงดูดให้นักเรียนมีความต้องการเข้าห้องสมุด รวมทั้งประชาสัมพันธ์ไปยัง ชุมชน องค์กรและบุคคลภายนอก เพื่อขอรับงบประมาณในการสนับสนุนโครงการอย่างต่อเนื่อง
1.3 ด้านกระบวนการดำเนินงานงาน ควรแสวงหาความร่วมมือจากผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างความร่วมมือ และพัฒนา ปรับปรุงการดำเนินงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มากขึ้นกว่าเดิมในทุกปีการศึกษา
1.4 ด้านผลผลิตในการดำเนินโครงการ ควรออกแบบการจัดกิจกรรมสร้างนิสัยรักการอ่านโดยเป็นกิจกรรมที่เน้นความเพลิดเพลินบูรณาการกับความรู้ เพื่อเป็นการเร้าใจให้นักเรียนมีความสนใจและอยากเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการเข้าห้องสมุด เมื่อมีเวลาว่าง ตลอดจนควรจัดตารางเรียนให้ทุกชั้นเรียนได้มีโอกาสเข้าห้องสมุดเพื่อค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติมในเนื้อหาวิชาที่เรียนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นการปลูกฝังและสร้างนิสัยรักการอ่านให้เกิดกับนักเรียนอย่างยั่งยืน
ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินครั้งต่อไป
เพื่อให้ผลการประเมินนี้มีผลสืบเนื่องต่อไปในอนาคต ผู้ประเมินมีข้อเสนอแนะที่อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับการประเมินในโอกาสต่อไป ดังนี้
2.1 ควรศึกษาเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของโรงเรียนให้ต่อเนื่อง จากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
2.2 ควรศึกษาบทบาทของผู้ปกครองในการสร้างนิสัยรักการอ่าน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการดำเนินโครงการให้ประสบความสำเร็จต่อไป
2.3 ควรศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานโรงเรียน และพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการประเมินโครงการ โรงเรียนส่งเสริมนิสัยรักการอ่านระดับประเทศ ต่อไป