คำสำคัญ : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ผ่องรัตน์ เพ็งประเดิม : การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยและภูมิปัญญาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี1 (บ้านเก่าวิทยา)
บทคัดย่อ
การพัฒนาบทเรียนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยและภูมิปัญญาไทย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยและภูมิปัญญาไทย (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยและภูมิปัญญาไทย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี1 (บ้านเก่าวิทยา) ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้อง นักเรียน 35 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
แบบเจาะจง (Purposive sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยและภูมิปัญญาไทย (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยและภูมิปัญญาไทย
ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยและภูมิปัญญาไทย ของนักเรียนอยู่ที่ E1 / E2 = 81.24/ 82.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80 / 80 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ที่ร้อยละ 82.67 (3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยเรื่อง งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยและภูมิปัญญาไทย สอนอยู่ในระดับมาก ( x 4.21 )
จากผลการทดลองดังกล่าว พบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จัดเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนที่ทำให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ ด้วยผลการพัฒนานั้นสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ถูกจัดไว้ในประเภทของสื่อที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนทีส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าคุณภาพการศึกษาของนักเรียนจะดีขึ้นไปด้วย