ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการเห็นคุณค่าในตนเองของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี
ผู้วิจัย นางสุจิตรา ไชยธงรัตน์.
สถานศึกษา โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี
เทศบาลนครอุดรธานี
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพปัญหาในการจัดกิจกรรมแนะแนวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบกิจกรรมแนะแนวเพื่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมแนะแนวเพื่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการเห็นคุณค่าในตนเอง แหล่งข้อมูลที่ใช้ มีรายละเอียดดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 แหล่งข้อมูลที่ใช้ ได้แก่ ครูผู้สอนวิชากิจกรรมแนะแนว ในโรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี จำนวน 5 คน และ ผู้ปกครองนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ขั้นตอนที่ 2 แหล่งข้อมูลที่ใช้ ได้แก่ เอกสารงานวิจัย ตำรา ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการเห็นคุณค่าในตนเอง เอกสารหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 3 คน สำหรับการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพแบบเดียว (1:1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 9 คน สำหรับการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพแบบกลุ่ม (1:10) และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 คน สำหรับการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพภาคสนาม (1:100) ขั้นตอนที่ 3 แหล่งข้อมูล ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 คน ขั้นตอนที่ 4 แหล่งข้อมูล ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และขั้นตอนที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D ,ค่าร้อยละ และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. จากผลการศึกษาสภาพปัญหาในด้านการจัดการเรียนการสอนวิชาแนะแนวในโรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี พบว่า ครูและผู้ปกครอง มีความคาดหวังให้ครูผู้สอนวิชาแนะแนวสามารถสอนให้นักเรียนเกิดทักษะชีวิต มีสมาธิ สติในการใช้ชีวิตประจำวันและต้องการให้ครูผู้สอนเพิ่มเติมกิจกรรมที่สามารถพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง เนื่องจากผู้ปกครองบางท่านได้สังเกตพฤติกรรมของบุตรหลานตนเอง พบว่า มีพฤติกรรมที่ค่อนข้างไม่พึงประสงค์ เช่น ปัญหาชู้สาว ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ไม่เรียนหนังสือ ติดโทรศัพท์ ติดเพื่อน ติดเกม ติดการพนัน ปัญหาการปรับตัว ไม่มีความมั่นใจในตนเอง ปัญหายาเสพติด ซึ่งอาจส่งผลให้นักเรียนมีปัญหาในด้านการเรียน นอกจากนั้นครูผู้สอนและผู้ปกครองมีความต้องการให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีสื่อ อุปกรณ์ที่ทันสมัยหลากหลายมีความน่าสนใจ บรรยากาศในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีต้องการให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออกได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังพบว่า ครูผู้สอนมีความต้องการแผนการจัดกิจกรรมแนะแนวที่สามารถแก้ปัญหาพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้นของผู้เรียน เนื่องจากในปัจจุบันแผนการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาหรือแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนยังไม่มีความชัดเจน แหล่งเรียนรู้ สื่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่มีความทันสมัย การจัดการเรียนการสอนยังยึดครูเป็นศูนย์กลาง
2. รูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการเห็นเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนว CPLA Model มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดกิจกรรม 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นสำรวมจิต (C - Concentrate) 2) ขั้นการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ (P Participation) 3) ขั้นสะท้อนกลับการเรียนรู้ (L Learning Reflecting) 4) ขั้นประยุกต์ใช้ (A - Applying) มีค่าประสิทธิภาพระหว่างเรียน E1 เท่ากับ.80.99 และมีค่าประสิทธิภาพหลังเรียน E2 เท่ากับ 81.13 หรือมีค่าเท่ากับ 80.99/81.13 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
3.1 แผนการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 จำนวน 30 คน มีค่าประสิทธิภาพระหว่างเรียน E1 เท่ากับ 87.33 และมีค่าประสิทธิภาพหลังเรียน E2 เท่ากับ 82.67 หรือมีค่าเท่ากับ 87.33/82.67 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3.2 ผลการเปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โดยรวมก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรม
แนะแนวเพื่อการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยรวมพบว่า นักเรียนมีระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับมาก
Title Development of Guidance Activities Model for Self-Esteem in
Mathayomsuksa 4, Tessaban 6 Nakhon Udon Thani School
Author Suchittra Chaithongrat
Place Tessaban 6 Nakhon Udon Thani School
Year 2560
Abstract
The objectives of the Development of Guidance Activities Model for Self-Esteem in Mathayomsuksa 4, Tessaban 6 Nakhon Udon Thani School are 1) to study the basic information and state of problems in guidance activities of senior high school students 2) to create and develop the guidance activities model for self-esteem in Mathayomsuksa 4 students 3) to experiment the guidance activities model for self-esteem in Mathayomsuksa 4 students and 4) to explore the satisfaction of Mathayomsuksa 4 students on the guidance activities model for self-esteem. The used data sources are 1) 5 guidance teachers in Tessaban 6 Nakhon Udon Thani School and senior high school students parents 2) research papers, text books, theories involved the development of guidance activities model for self-esteem, the curriculum materials of student development activities, 5 experts, 3 Mathayomsuksa 4 students for individual testing (1:1), 9 Mathayomsuksa 4 students for group testing (1:10), and 30 Mathayomsuksa 4 students for field testing (1:100) 3) the sample of 30 Mathayomsuksa 4 students and 4) 30 Mathayomsuksa 4 students. The research instruments are 1) interview form 2) learning activities model and 3) satisfaction questionnaire. Statistics used in data analysis are , standard deviation, percentage, and t-test.
The results of the study were
1. The result from the study of state of problem on learning management in guidance at Tessaban 6 Nakhon Udon Thani School found that teachers and parents expect the guidance teachers to be able to teach students to have life skills, mediation and consciousness in daily life and want the teachers to give students extra activities that can develop self-esteem because some of parents notice that their childrens behaviors are not in the good way, such as affairs, premature pregnancy, inattentiveness in their study, mobile addiction, attachment to friends, games addiction, gambling addition, adaptation problem, low self-confidence, and drug problem which can affect students educationally. Moreover, teachers and parents want the variety of teaching medias, modern materials in learning activities to be provided, as well as the atmosphere that students can express their opinions and themselves extremely. Furthermore, it found that the teachers demand the guidance activities plans that can solve the students problems because, nowadays, the plans for developing and solving students unwanted behaviors are not obvious. The learning center and materials are outdated. Learning and teaching still emphasizes the teacher center.
2. The developed guidance activities model for self-esteem in Matthayomsuksa 4 called CPLA Model has elements consisted of principles, objectives, activity process which has 4 steps as follows: 1) C Concentrate 2) P Participation 3) L Learning 4) A Applying. The E1 effective value of while-studying is 80.99 and E2 is 81.13 or equal 80.99/81.13 which passes the preset criterion 80/80.
3. the results from using the guidance activities model for self-esteem in Mathayomsuksa 4 were
3.1 the E1 effective value of while-studying of guidance activity plans for self-esteem in 30 Mathayomsuksa 4 students is 87.33 and E2 is 82.67 or equal 87.33/82.67 which passes the preset criterion 80/80.
3.2 The comparative result for self-esteem in pre-learning and pos- learning of Mathayomsuksa 4 students found that students self-esteem average was statically significant at .05 level.
4. The satisfaction assessment of Mathayomsuksa 4 students in guidance activities model for self-esteem totally shew that the satisfaction level of students in guidance activities model for self-esteem is very good.