ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยใช้การเรียนรู้พลศึกษา
แบบ 5 ขั้น เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะกีฬาแบดมินตัน และความฉลาด
ทางอารมณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นายสุนันท์ หิรัตพรม
หน่วยงาน โรงเรียนจุมจังพลังราษฎร์ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ กระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้พลศึกษา
2) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยใช้การเรียนรู้พลศึกษาแบบ 5 ขั้น เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะกีฬาแบดมินตัน และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อนำรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยใช้การเรียนรู้พลศึกษาแบบ 5 ขั้น เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะกีฬาแบดมินตัน และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ 4) เพื่อประเมินผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ดังนี้ 4.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4.2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษา 5 ขั้น เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะกีฬาแบดมินตัน และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนจุมจังพลังราษฎร์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่เรียนวิชาแบดมินตัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เป็นหน่วยวิเคราะห์ (Unit of Analysis) ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : R1) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Design and Development : D1) : การพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 การนำไปใช้ (Implementation: R2) : การทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุง (Evaluation : D2) : การประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) รูปแบบการสอนพลศึกษา 5 ขั้น เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะกีฬาแบดมินตันและความฉลาดทางอารมณ์(2) แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการสอน (3) เอกสารประกอบ การสอนแบดมินตัน (4) แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษา 5 ขั้น (5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (6) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ และ (7) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้บริหาร ครูผู้สอนพลศึกษา และนักเรียนต้องการให้มีการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พลศึกษา วิชาแบดมินตัน โดยจัดเป็นหน่วยการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะกีฬาแบดมินตัน และความฉลาดทางอารมณ์ ครูมีความจำเป็นและมีความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ และความฉลาดทางอารมณ์
2. การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มี 7 องค์ประกอบสำคัญ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) สาระหลัก (4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นเตรียมหรือนําเขาสูบทเรียน (Introductory Phase) ขั้นการสอน (Teaching Phase) ขั้นฝกหัด (Practice Phase) ขั้นนําไปใช้ (Skill Laboratory) ขั้นสรุปและสุขปฏิบัติ (Closing Phase) (5) ระบบสนับสนุน (6) การประเมินผล (7) ผลของการนำไปใช้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสม และสอดคล้องขององค์ประกอบ อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ พบว่า
3.1 รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยใช้การเรียนรู้พลศึกษาแบบ 5 ขั้น เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะกีฬาแบดมินตัน และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.60/87.15
3.2 ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยใช้การเรียนรู้พลศึกษาแบบ 5 ขั้น เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะกีฬาแบดมินตัน และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.7312 ซึ่งหมายถึงว่าหลังเรียนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 73.12
4. ผลประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า
4.1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยใช้การเรียนรู้พลศึกษาแบบ 5 ขั้น มีความสามารถด้านทักษะกีฬาแบดมินตัน และความฉลาดทางอารมณ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยใช้การเรียนรู้พลศึกษาแบบ 5 ขั้น เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะกีฬาแบดมินตัน และความฉลาดทางอารมณ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนพึงพอใจต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยใช้การเรียนรู้พลศึกษาแบบ 5 ขั้น ด้านรูปแบบการจัดการเรียนรู้มากที่สุด เพราะผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และแสวงหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติทักษะกีฬาแบดมินตันและความฉลาดทางอารมณ์ด้วยตัวเอง และร่วมกันเรียนรู้กับผู้อื่น
ครูเรียงลำดับเนื้อหาและกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม และนักเรียนสามารถสรุปความรู้ เชื่อมโยงนำไปไปใช้ในชีวิตประจำวันได้