ชื่อเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ปิโตรเลียม พอลิเมอร์ และความสามารถในการแก้ปัญหา ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวสุพรรณี บัวสาลี
หน่วยงานต้นสังกัด โรงเรียนหนองบัวพิทยาคม อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ปิโตรเลียม พอลิเมอร์ และความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ปิโตรเลียม พอลิเมอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลัง ด้วยจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 3) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ปิโตรเลียม พอลิเมอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กับเกณฑ์ร้อยละ 65 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลัง ด้วยจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียน หนองบัวพิทยาคม อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 15 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ปิโตรเลียม พอลิเมอร์ จำนวน 7 แผน จำนวน 21 ชั่วโมง และ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ ปิโตรเลียม พอลิเมอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ก่อนการจัดการเรียนรู้ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 20.57 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 41.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.75 หลังการจัดการเรียนรู้ คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 33.33 คิดเป็นร้อยละ 66.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.16 โดยนักเรียนมีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยเท่ากับ 12.73 คิดเป็นร้อยละ 25.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.02 ความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ได้คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 11.53 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 37.02 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.02 หลังเรียนเท่ากับ 18.13 คิดเป็นร้อยละ 60.44 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.14 มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ย เท่ากับ 6.60 คิดเป็นร้อยละ 13.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.50
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ปิโตรเลียม พอลิเมอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อน การจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ ปิโตรเลียม พอลิเมอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 65 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 เป็นไปตามสมมุติฐาน
4. ความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05