บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้หลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงแบบ People EOE โรงเรียนเทศบาล 3 (เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา)
ผู้วิจัย สมพิศ สังข์สุวรรณ
ปีการศึกษา 2560
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพปัญหาการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบ People EOE โรงเรียนเทศบาล 3 (เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา) 2) สร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา
โรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบ People EOE โรงเรียนเทศบาล 3 (เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบ People EOE โรงเรียนเทศบาล 3 (เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา) 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบ People EOE โรงเรียนเทศบาล 3 (เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา) รูปแบบที่ใช้ในการศึกษาเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) โดยมีขั้นตอนในวิธีการดำเนินการศึกษา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสำรวจสภาพปัญหาการบริหารจัดการศึกษาเพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ 2) การสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 3) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 14 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครอง จำนวน 43 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 44 คน รวมทั้งสิ้น
จำนวน 108 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โดยเลือกวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และสุ่มเป็นตัวแทนแต่กลุ่มด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง และแบบตรวจสอบรายการ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยโปรแกรมสำเร็จรูปและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้หลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงแบบ People EOE โรงเรียนเทศบาล 3 (เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา)
โดยภาพรวม มีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.96 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
พบว่า มีการดำเนินการอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่
ด้านการเตรียมความพร้อมบุคลากร (x̄ = 4.11) รองลงมาคือ ด้านการเตรียมความพร้อมของสภาพแวดล้อมในโรงเรียน (x̄ = 4.01) ด้านการจัดระบบการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
(x̄ = 3.87) และด้านการนิเทศกำกับติดตามประเมินผลสรุปผลการดำเนินงานและปรับปรุงพัฒนา
(x̄ = 3.86) ตามลำดับ
2. รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบ People EOE โรงเรียนเทศบาล 3 (เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา) ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีองค์ประกอบที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันทุกด้าน ได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมายของรูปแบบ ด้านเนื้อหาของรูปแบบ ซึ่งประกอบด้วย ด้านการเตรียมความพร้อมบุคลากร
ด้านการเตรียมความพร้อมของสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ด้านการจัดระบบการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านการนิเทศกำกับติดตามประเมินผลสรุปผลการดำเนินงานและปรับปรุงพัฒนา
ด้านการนำรูปแบบไปใช้ประโยชน์ และด้านเงื่อนไขความสำเร็จ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ทุกด้าน และมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.62 สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบ People EOE โรงเรียนเทศบาล 3 (เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา) จำแนกได้ดังนี้
3.1 รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบ People EOE ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการเตรียมความพร้อมบุคลากร รองลงมา คือ ด้านการเตรียมความพร้อมของสภาพแวดล้อมในโรงเรียน
ด้านการจัดระบบการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล สรุปผลการดำเนินงานและปรับปรุงพัฒนา ตามลำดับ
3.2 รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบ People EOE ตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีการดำเนินการมากที่สุดอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการวางแผนการใช้ชีวิตประจำวันบนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสาร รองลงมามีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม และมีการดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านการใช้ทรัพย์สินของตนเองอย่างประหยัด ด้านการไม่เอาเปรียบผู้อื่นและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ด้านการใช้ทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุดอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านการปฏิบัติตนและตัดสินใจด้วยความรอบคอบ มีเหตุผล
4. ผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบ People EOE โรงเรียนเทศบาล 3 (เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา) โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
(x̄ = 4.62) เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า พึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกด้าน ได้แก่ ด้านความพอประมาณ ด้านความมีเหตุผล ด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ด้านความรู้ และด้านคุณธรรม