ชื่อเรื่อง รายงานประเมินโครงการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดดอนทอง (สุวัณณะศรี ตัณฑิกุล ราษฎร์ศึกษาลัย) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1 จังหวัดฉะเชิงเทรา
ผู้รายงาน นางวรีชญา ชอบดี
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
รายงานประเมินโครงการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดดอนทอง (สุวัณณะศรี ตัณฑิกุล ราษฎร์ศึกษาลัย) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1 จังหวัดฉะเชิงเทรา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิต โครงการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดดอนทอง (สุวัณณะศรี ตัณฑิกุล ราษฎร์ศึกษาลัย) และประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองเครือข่าย และนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดดอนทอง (สุวัณณะศรี ตัณฑิกุล ราษฎร์ศึกษาลัย)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้รายงานประเมินโครงการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดดอนทอง (สุวัณณะศรี ตัณฑิกุล ราษฎร์ศึกษาลัย) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1 จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองเครือข่าย และนักเรียน โรงเรียนวัดดอนทอง (สุวัณณะศรีตัณฑิกุล ราษฎร์ศึกษาลัย) ปีการศึกษา 2558 โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครจซี และมอร์แกน ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ที่ระดับความคลาดเคลื่อน ร้อยละ 5 จำนวน 632 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ จำแนกตามสัดส่วนของผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองเครือข่าย และนักเรียนในสถานศึกษา ได้กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 113 คน ผู้ปกครองเครือข่าย จำนวน 181 คน นักเรียนชั้น ป.1- 6 จำนวน 338 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถามความคิดเห็นมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นของครู นักเรียน และผู้ปกครอง เกี่ยวกับระดับผล การดำเนินโครงการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยในสถานศึกษา ของโรงเรียนวัดดอนทอง (สุวัณณะศรี ตัณฑิกุล ราษฎร์ศึกษาลัย) 2) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน เกี่ยวกับระดับความพึงพอใจของการดำเนินโครงการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยในสถานศึกษา ของโรงเรียนวัดดอนทอง (สุวัณณะศรี ตัณฑิกุล ราษฎร์ศึกษาลัย)
การวิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปรากฏผลดังนี้
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการดำเนินโครงการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยในสถานศึกษาด้านสภาพแวดล้อม (Context) อยู่ในระดับมากที่สุด และยังพบว่า ผู้รับผิดชอบได้การกำหนดเป้าหมายและกิจกรรมในโครงการมีความสอดคล้องกัน เป้าหมายของโครงการสามารถวัดและประเมินได้ วัตถุประสงค์มีความชัดเจนเหมาะสมสอดคล้องกัน หลักการและเหตุผลมีน้ำหนักเพียงพอเหมาะสมที่จะทำโครงการได้ และจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมภายในได้เหมาะสมเอื้อต่อการจัดกิจกรรม ระดับมากที่สุด
2. ผลการดำเนินโครงการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยในสถานศึกษาด้านปัจจัย (Input) อยู่ในระดับมากที่สุด และยังพบว่า โรงเรียนวัดดอนทอง (สุวัณณะศรี ตัณฑิกุล ราษฎร์ศึกษาลัย) มีสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อการดำเนินงานตามโครงการ มีวัสดุที่ใช้ในโครงการอย่างพอเพียง ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด มีอาคารเรียน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติงานตามโครงการอย่างเหมาะสมและพอเพียง และมีจำนวนบุคลากรดำเนินการโครงการอย่างเหมาะสมเพียงพอ ระดับมากที่สุด
3. ผลการดำเนินโครงการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยในสถานศึกษาด้านกระบวนการ (Process) อยู่ในระดับมากที่สุด และยังพบว่า ผลการดำเนินโครงการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยในสถานศึกษาด้านกระบวนการ (Process) จากมากไปน้อยเป็นรายข้อลำดับแรก คือ มีการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศครบถ้วน ถูกต้องตรงความต้องการในการดำเนินการโครงการ รองลงมา การประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการต่อบุคลากรในโรงเรียนและชุมชนอย่างสม่ำเสมอ การส่งเสริมการทำงานเป็นทีมแก่บุคลากร การประเมินผลการดำเนินโครงการ นำผลการประเมินไปใช้พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับมากที่สุด มีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในการดำเนินโครงการอย่างเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด
การวิเคราะห์สรุปผลและรายงานผลการดำเนินโครงการ กิจกรรมตามโครงการสามารถนำไปปฏิบัติ การบูรณาการกิจกรรมต่างๆ ในการดำเนินโครงการอย่างเหมาะสม การมีส่วนร่วมดำเนินการโครงการของบุคลากรในโรงเรียนผู้ปกครอง และชุมชน การให้ความช่วยเหลือ หรือสนับสนุนในการทำกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด การพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการดำเนินโครงการ มีการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการการพัฒนา ตามลำดับ
4. ผลการดำเนินโครงการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยในสถานศึกษาด้านผลผลิต (Product) อยู่ในระดับมาก และยังพบว่าผลการดำเนินโครงการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยในสถานศึกษา ลำดับแรกเกี่ยวกับพฤติกรรมคาราวธรรม เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น ทั้งกายและวาจา อยู่ในระดับมาก แสดงความเคารพแก่บุคคลซึ่งอาวุโสกว่า ใช้คำพูดสุภาพ ไม่ก้าวร้าว ไม่ส่อเสียด อยู่ในระดับมากที่สุด และ เคารพในการปฏิบัติของศาสนาที่ตนนับถือและไม่ลบหลู่ศาสนาอื่น ใช้คำพูดได้เหมาะสมกับฐานะของผู้สนทนา ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม อยู่ในระดับมากที่สุด ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง เคารพในกฎ ระเบียบ ข้อตกลงของโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด และ ใช้คำพูดได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ตามลำดับ พฤติกรรมสามัคคีธรรม ลำดับแรก คือ หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง รู้จักอดทนอดกลั้น อยู่ในระดับมากที่สุด และรักหมู่คณะ ช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน อยู่ในระดับมากที่สุด มีความเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน อยู่ในระดับมากที่สุด สามารถใช้กระบวนการกลุ่มในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ร่วมกันปรับปรุง มีการแก้ไข พัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด รับผิดชอบต่อหน้าที่ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม ร่วมกันติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ร่วมกันรับผิดชอบทำงานที่ได้รับมอบหมาย ร่วมกันคิดช่วยกันวางแผนและร่วมกันทำงานด้วยความเต็มใจ ตามลำดับ พฤติกรรมปัญญาธรรม ลำดับแรก คือ มีความคิดกว้างไกล รับฟังข่าวสารและความคิดเห็นของผู้อื่น อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา พิจารณาเหตุผลด้วยใจเป็นธรรม ไม่ลำเอียง ปราศจากอคติ
ใช้สติปัญญาในการไตร่ตรองวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ อยู่ในระดับมาก แสดงความคิดเห็นโดยปราศจากอคติ มีการคิดวิเคราะห์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล ความพยายามหาวิธีในการปรับปรุงแก้ปัญหาโดยเหตุผล
ไม่ยึดถือความคิดเห็นของตนเองเป็นใหญ่ อธิบายเหตุผลได้เมื่อต้องมีการตัดสินใจ ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา อยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ ส่วนลำดับสุด ท้ายคือ มีการใช้สติปัญญาในการอภิปรายในการประชุม
5. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองเครือข่าย ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจโครงการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดดอนทอง (สุวัณณะศรี ตัณฑิกุล ราษฎร์ศึกษาลัย) โดยรวมอยู่ในระดับมาก และยังพบว่า ด้านสภาพแวดล้อม สถานศึกษาดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการควบคู่กับกิจกรรมตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมประชาธิปไตยตามคุณลักษณะที่ต้องการด้านคารวธรรม ส่งเสริมให้มีกิจกรรมคณะกรรมการนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมประชาธิปไตยตามคุณลักษณะที่ต้องการด้านสามัคคีธรรม ในชั้นเรียน ด้านปัจจัยเบื้องต้น ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา เครือข่ายผู้ปกครองและนักเรียนความรู้ ความเข้าใจในโครงการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยในสถานศึกษา สถานที่ในการดำเนินโครงการ และงบประมาณ อุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยในสถานศึกษาที่มีความพอเพียง ด้านกระบวนการ มีการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการของหลักสูตรเกี่ยวกับเรื่องประชาธิปไตย สร้างบรรยากาศในโรงเรียนที่ช่วยปลูกฝังวิถีประชาธิปไตย มีการจัดกิจกรรมสภานักเรียน กิจกรรมนักเรียนไทยห่วงใยประชาธิปไตยใส่ใจชุมชน กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยกับการเรียนรู้ กำหนดเกณฑ์การประเมินกิจกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยในสถานศึกษา และประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และด้านผลผลิต นักเรียนมีความสามารถร่วมกันทำงานที่ได้รับมอบหมาจนสำเร็จ ยอมรับข้อบกพร่องของตนเอง สามารถพูดแสดงความคิดเห็นโดยใช้เหตุผล เข้าร่วมใช้สิทธิในการเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียน รู้จักเคารพผู้พูด ผู้ฟังของนักเรียน มีความรับผิดชอบในผลงานของกลุ่ม และเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มตามโอกาส ระดับมาก