ชื่อเรื่อง การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมี
วิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้การอ่านรูปแบบ
SQ3R รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน
ผู้วิจัย นายสุภีรชัย ภิญโญดม
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้การอ่านรูปแบบ SQ3R รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบ SQ3R ที่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบ SQ3R ที่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book) รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนโนนหันวิทยายน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 25 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการอ่านแบบ SQ3R ที่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบ SQ3R ที่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบ SQ3R ที่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยมีแบบแผนการทดลองเป็นแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนและสอบหลัง (One Group Pretest-Posttest Design) ดำเนินการทดลองโดยการทดสอบก่อนการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและหาคุณภาพแล้ว เมื่อดำเนินการทดลองสอนครบ 17 แผน จำนวน 17 ชั่วโมง จึงทดสอบหลังการจัดการเรียนรู้ จากนั้นนำผลการทดลองมาเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบ SQ3R ที่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าเฉลี่ยโดยใช้การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) การวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบ SQ3R ที่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปของตารางและความเรียง
ผลการวิจัย พบว่า
การวิจัยเรื่องการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้การอ่านรูปแบบ SQ3R รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.58/84.73 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีค่าเท่ากับ 0.7765 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนจริง คิดเป็นร้อยละ 77.65
3. ความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบ SQ3R ที่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบ SQ3R ที่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในภาพรวม อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด