บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการเรียนรู้
ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด 3) สร้างโปรแกรมการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด การดาเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาแบ่งออกเป็น3 ระยะประกอบด้วย
ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อ
เสริมสร้าง การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ยืนยันโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน
ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้
ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็น ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยจานวน 86 คน
ระยะที่ 3 การพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อ
เสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดยืนยันโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์และแบบ
ประเมินสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างการคิดอย่างมี
วิจารณญาณของนักเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดประกอบด้วย 6องค์ประกอบ 23 ตัวชี้วัดยืนยันโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างการคิดอย่างมี
วิจารณญาณของนักเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อย โดยรวมอยู่ในระดับมากและสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. โปรแกรมการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างการคิด
อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบของโปรแกรมได้แก่ 1)หลักการของโปรแกรม 2) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม3) เป้าหมายของโปรแกรม4) เนื้อหาและกิจกรรมพัฒนาของโปรแกรมประกอบด้วย6 Module คือ 4.1) การกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ 4.2) การพิจารณาความพร้อมของผู้เรียน4.3) กากำหนดเนื้อหา 4.4) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4.5) การประเมินผลและ4.6) ข้อมูลป้อนกลับใช้ระยะเวลา 118 ชั่วโมงวิธีการพัฒนาได้แก่การอบรมและการพัฒนาตนเองโดยดำเนินการพัฒนา4 ขั้นได้แก่ขั้นที่ 1 การประเมินก่อนการพัฒนาขั้นที่ 2 การพัฒนาขั้นที่ 3 การบูรณาการระหว่างปฏิบัติงานขั้นที่ 4 การประเมินหลังการพัฒนาและ 5) การประเมินผลโปรแกรมผลการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่าความเป็นประโยชน์ความเป็นไปได้และความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด