บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศ เพื่อพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
2) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศ เพื่อพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด 2.1) ประเมินสมรรถภาพในการนิเทศของครูผู้นิเทศ 2.2) ประเมินสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของครูผู้รับการนิเทศ 2.3) ประเมินผลสัมฤทธิ์ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน 2.4) ศึกษา
ความพึงพอใจของครูผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศที่มีต่อรูปแบบการนิเทศ 2.5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development ซึ่งมีขั้นตอนในการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Research : R1) ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการนิเทศ (Development : D1) ขั้นตอนที่ 3 การนํารูปแบบการนิเทศไปใช้ (Research : R2) ขั้นตอนที่ 4
การประเมินผลรูปแบบการนิเทศ (Development : D2) กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้นิเทศ จำนวน 5 คน ครูผู้รับการนิเทศ 10 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 50 คน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
จากโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่ 1) โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง 2) โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร 3) โรงเรียนเทศบาลหนองหญ้าม้า 4) โรงเรียนเทศบาลวัดเวฬุวัน
ปีการศึกษา 2558 ด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เนื้อหา แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสังเกต แบบบันทึกการสอนแบบพรรณนาความ แบบประเมินสมรรถภาพ การนิเทศและสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจ และประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าร้อยละเฉลี่ย (%) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการนิเทศ เพื่อพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า NAIPDE Model
มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ และกระบวนการนิเทศการสอน 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1
การกำหนดปัญหาและความต้องการจำเป็น (Need) ขั้นที่ 2 การประเมินสภาพและสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ (Assessing : A) ขั้นที่ 3 การให้ความรู้ก่อนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Informing : l) ขั้นที่ 4 การวางแผนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Planning : P) ขั้นที่ 5 การปฏิบัติการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Doing : D) และขั้นที่ 6 การประเมินผลการนิเทศการจัดการเรียนรู้ (Evaluating : E)
ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการนิเทศโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน พบว่า รูปแบบการนิเทศ
มีประสิทธิภาพ และผลการตรวจสอบประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของรูปแบบการนิเทศ พบว่า
ครูผู้ทําหน้าที่นิเทศมีสมรรถภาพการนิเทศการสอน หลังการใช้รูปแบบการนิเทศสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ ครูผู้รับการนิเทศมีสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังการใช้รูปแบบการนิเทศสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทักษะ
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังการใช้รูปแบบการนิเทศสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ
อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ครูผู้ทําหน้าที่นิเทศและครูผู้รับนิเทศ มีความพึงพอใจต่อ
รูปแบบการนิเทศอยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของครู อยู่ในระดับมาก